Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10591
Title: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ |
Other Titles: | Legal issues concerning the protection of victims' rights from sexual assault cases |
Authors: | ปวินี ไพรทอง สมาน คชกฤษ, 2502- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี อาชญากรรมทางเพศ ผู้เสียหาย กระบวนการยุติธรรม การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด และทฤษฎีการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาปัญหากฎหมายการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ (4) เสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ การค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือ และตัวบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสารเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหน่วยงานของรัฐที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้เสียหาย ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้เสียหายในคดีอาญาทุกคนย่อมได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายและมีสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเพื่อการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ตนเอง ซึ่งกระบวนการยุติธรรมในปัจจุบันต่างมุ่งให้ความสำคัญกับสิทธิของผู้ต้องหามากกว่าการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย (2) กฎหมายระหว่างประเทศที่คุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และปฏิญญาว่าด้วยหลักความยุติธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เสียหายในคดีอาญาและการใช้อำนาจโดยมิชอบ ค.ศ. 1985 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการใช้ความรุนแรงต่อสตรี และความรุนแรงในครอบครัว ส่วนกฎหมายในสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐเกาหลีมีการตรากฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเพศขึ้นเป็นการเฉพาะ และกฎหมายไทยมีการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายเป็นการทั่วไปในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่มีการบัญญัติกฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศเป็นการเฉพาะ (3) ปัญหาที่พบ ได้แก่ ไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาการเก็บหลักฐานในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ไม่มีหลักเกณฑ์การแจ้งความคืบหน้าของคดีแก่ผู้เสียหาย ไม่มีการรับรองสิทธิว่าผู้เสียหายจะได้รับการปฏิบัติด้วยความเห็นอกเห็นใจ และได้รับการประกันในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไม่มีหลักเกณฑ์การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายจากการเผยแพร่ข่าวของสื่อมวลชน (4) ข้อเสนอแนวทางแก้ไข คือควรมีการบัญญัติสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้แก่ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเก็บหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ กรณียังไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศมาลงโทษได้ไว้ 20 ปี หรือตามอายุความ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะสั้นกว่า ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับแจ้งความคืบหน้าของคดี ครั้งแรกเมื่อครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันร้องทุกข์ หรือคำกล่าวโทษ ครั้งที่สอง เมื่อครบกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่แจ้งครั้งแรก ครั้งที่สามเมื่อสรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการ หรือมีการออกหมายจับหรือจับกุมผู้ต้องหา รับรองสิทธิของผู้เสียหายที่จะได้รับการปฏิบัติด้วยความเห็นอกเห็นใจ และรับรองสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองชื่อเสียงและความเป็นส่วนตัว โดยกำหนดห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าสถาบันหรือองค์กรใด ๆ หรือผู้ที่เคยทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับคดี เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียหายที่เป็นเด็ก รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ที่อาจระบุถึงเด็กได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10591 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License