Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10592
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจำเนียร ราชแพทยาคมth_TH
dc.contributor.authorกนกรัตน์ ภู่แย้ม, 2523-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-11-27T06:50:22Z-
dc.date.available2023-11-27T06:50:22Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10592en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการให้บริการสนับสนุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชโดยใช้กรอบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (2) ศึกษาปัญหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้บริการสนับสนุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบผสมวิธี ประชากรสำหรับการศึกษาเชิงปริมาณคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่สมัครเข้าศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2559 ถึง 2562 จำนวน 21,994 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีของทาโร ยามาเน่ ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีเลือกตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบสรุปอุปมัย ผลการวิจัยพบว่า (1) การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการบริการการศึกษา ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่าวัตถุประสงค์ของการบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นมหาวิทยาลัยเปิดชั้นนำของโลกที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกล ให้การศึกษาตลอดชีวิตสาหรับทุกคน ใช้ระบบการศึกษาทางไกลถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่นักศึกษาผ่านสื่อประสม ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการลงทะเบียน และด้านการจัดส่งชุดการสอนและวัสดุการศึกษาทางไปรษณีย์ ตามลำดับ การดำเนินงานด้านการบริการการศึกษา ด้านกระบวนการ พบว่านักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านพัฒนาทักษะการเรียน ด้านการให้บริการการศึกษาของศูนย์บริการการศึกษา และด้านการให้บริการสารสนเทศ ตามลำดับ การดำเนินงานด้านการบริการการศึกษา ด้านผลผลิตนักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านความประหยัด ด้านความมีประสิทธิผล และด้านความมีประสิทธิภาพ ตามลำดับ (2) ปัญหาของการให้บริการสนับสนุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้แก่ ขั้นตอนกระบวนการมีความล่าช้า การจัดส่งเอกสารหนังสือมีความล่าช้า ช่องทางสอบถามข้อมูลมีไม่เพียงพอ หนังสือเรียนมีเนื้อหามากเกินไป และศูนย์บริการการศึกษามีการบริการที่ล่าช้า ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาคือ ควรมีการบริหารจัดการด้านการตอบข้อซักถามให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ควรจัดการเรียนการสอนเสริมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ควรทำเนื้อหาที่กระชับ โดยเน้นเนื้อหาที่สำคัญ.th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--การศึกษาและการสอน--การประเมินth_TH
dc.subjectการบริหารการศึกษาth_TH
dc.titleการประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริการการศึกษา ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.title.alternativeEvaluation of educational service implementations of Sukhothai Thammathirat Open Universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to evaluate education services implementation of Sukhothai Thammathirat Open University by using result-based management framework (2) to study problems and recommend development guidelines of education services of Sukhothai Thammathirat Open University. This research was a mix method research. The population for quantitative research was undergraduate students of Sukhothai Thammathirat Open University who applied admission during the academic year of 2016 to 2019 totally 21,994 students. The samples size was determined by using Taro Yamane's formula and obtained 400 samples with stratified random sampling method. Research instrument was a questionnaire. Statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation, For qualitative research collected data from relevant secondary sources and data was analyzed by content analysis in term of inductive summary. The research findings revealed that (1) the implementation evaluation of education services of Sukhothai Thammathirat Open University in the aspect of environment, it was found that the goal of education service of Sukhothai Thammathirat Open University was the world's leading open university that used live-long distance learning for passing knowledge and experiences to student via mix medias including printed media, audio- visual media, electronic media. As for input aspect, it was found that the students' opinion was at high level. Considering each aspect from the highest to the least order showed the registration, delivery of teaching kits and educational materials by mail respectively. For operational process aspect, it was found that the students' opinion was at high level. Considering each aspect from the highest to the least order showed development of study skill, educational services of the educational service center and information service, respectively. And the last aspect, productivity evaluation, the students' opinion was at high level. Considering each aspect from the highest to the least order showed economy, effectiveness and efficiency respectively (2) Problems of educational service implementation of Sukhothai Thammathirat Open University were the delay in process, delayed delivery of documents, not sufficient communication channel, too much content in a textbook and the educational service center convey delayed services. The recommendation for development were there should manage with fast response of inquiries, continue online supplementary teaching and the content in a textbook should be concise, focused on important substances.en_US
dc.contributor.coadvisorพนมพัทธ์ สมิตานนท์th_TH
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.83 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons