Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10602
Title: การจัดการโรคฮวงลองบิงในสวนส้มสายน้ำผึ้งของเกษตรกรในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Management of citrus huanglongbing disease in Sai Nam Peung orange orchard by farmers in Fang District, Chiang Mai Province
Authors: ธำรงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประพันธ์ ศรีอุทัย, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --การศึกษาเฉพาะกรณี
ส้มสายน้ำผึ้ง--โรคและศัตรูพืช
ผลไม้ตระกูลส้ม--โรคและศัตรูพืช
เพลี้ย
การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคฮวงลองบิงและการจัดการโรค 3) การจัดการโรคฮวงลองบิงในสวนส้มสายน้้าผึ้ง 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการโรคฮวงลองบิงในสวนส้มสายน้้าผึ้ง ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกส้มในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีการผลิต 2560/61 จำนวน 493 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ ระดับความคลาดเคลื่อน 0.1 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 87 ราย รวบรวมข้อมูลโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรผู้ปลูกส้ม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.3 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการปลูกส้ม เฉลี่ย 7.57 ปี มีพื้นที่ปลูกส้มเฉลี่ย 15.34 ไร่ต่อครัวเรือน เกษตรกรร้อยละ 95.40 ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการโรค ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 22,454.77 12,123.82 และ 3,500.87 ก.ก./ไร่ สำหรับส้มรุ่นที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ ต้นส้มส่วนใหญ่ ร้อยละ 75 แสดงอาการของโรคจากการประเมินด้วยสายตา และพบการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ในช่วงเดือนมีนาคมถึงกรกฏาคม หรือช่วงที่มีการแตกยอดอ่อนของส้ม 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการโรคฮวงลองบิงในสวนส้มสายน้ำผึ้งอยู่ในระดับดี ร้อยละ 42.53 รองลงมาคือ ดีมาก ร้อยละ 34.48 และปานกลาง ร้อยละ 17.24 3) การจัดการโรคฮวงลองบิงในสวนส้มสายน้ำผึ้ง (1) ด้านการจัดการต้นพันธุ์ เกษตรกรจัดการโดยมีการใช้กิ่งพันธุ์ปลอดโรคขยายพันธุ์ ซึ่งมีแหล่งที่มาชัดเจน (ร้อยละ 79.31) การเข้าออกโรงเรือนต้นพันธุ์ต้องแต่งกายสะอาด หรือมีการฆ่าเชื้อโรค (ร้อยละ 54.02) (2) ด้านการจัดการโรคฮวงลองบิงในต้นส้มที่ยังไม่ให้ผลผลิต เกษตรกรจัดการโดยใช้สารเคมีควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ ในระยะใบอ่อน และระยะผลอ่อน (ร้อยละ 98.85) มีการตัดแต่งกิ่งที่โทรมเป็นโรคออกและทำลาย (ร้อยละ 98.85) ใช้แอนติไบโอติกยืดอายุหรือฟื้นฟูต้นส้ม (ร้อยละ96.55) และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ผสมโดโลไมท์ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา รองก้นหลุมปลูก (ร้อยละ 93.10) (3) ด้านการจัดการโรคฮวงลองบิงในต้นส้มที่ให้ผลผลิตแล้ว เกษตรกรจัดการโดยกำจัดหรือทำลายต้นที่เป็นโรคออกจากแปลง (ร้อยละ 98.85) สำรวจเพลี้ยไก่แจ้สม่ำเสมอ ถ้ามีการระบาดจะกำจัดทันที (ร้อยละ 98.85) และใช้แอนติไบโอติกยืดอายุหรือฟื้นฟูต้นส้ม (ร้อยละ 97.70) 4) ความเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับระดับปัญหา (1) ปุ๋ยและสารเคมีเกษตรมีราคาสูง อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความแปรปรวนของอากาศมีผลต่อผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) แรงงานขาดแคลน อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อเสนอแนะของเกษตรกรคือต้องให้มีศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้หรือจุดสาธิตการจัดการศัตรูส้ม.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10602
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons