Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10616
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลี ล้ำสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนันทิยา ทับทิม, 2523--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-11-30T07:52:29Z-
dc.date.available2023-11-30T07:52:29Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10616-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความต้องการสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร และ (2) เปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานครที่มีอายุและภาวะสุขภาพที่แตกต่างกัน การวิจัยเป็นแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุของศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 4 แห่ง ในสหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 304 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบความแตกต่างรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้สูงอายุ กลุ่มอายุ 60-69 ปี 70-79 ปี และ 80 ปีขึ้นไป มีความต้องการสารสนเทศด้านสุขภาพโดยรวมและรายด้านทุกด้านคือ สารสนเทศเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน โรค และสารสนเทศเพื่อการรักษาโรคและการฟื้นฟูสภาพในระดับปานกลาง และทุกกลุ่มอายุมีความต้องการสารสนเทศเพื่อการรักษาโรคและการฟื้นฟูสภาพ ในด้านการปฏิบัติตามแผนการรักษา การวินิจฉัย การฟื้นฟูและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค และสารสนเทศด้านการรับรู้สนใจ และติดตามผลของพยาธิสภาพของโรคโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศด้านสุขภาพตามอายุ ผู้สูงอายุที่มีอายุต่างกันมีความต้องการสารสนเทศด้านสุขภาพโดยรวมและสารสนเทศเพื่อการรักษาโรคและการฟื้นฟูสภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 ปี มีความต้องการมากกว่ากลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และการเปรียบเทียบความต้องการสารสนเทศด้านสุขภาพตามภาวะสุขภาพ ผู้สูงอายุที่มีภาวะสุขภาพต่างกันมีความต้องการสารสนเทศเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และสารสนเทศเพื่อการรักษาโรคและการฟื้นฟูสภาพ ด้านการรับรู้สนใจ ดูแลและป้องกันผลข้างเคียงเนื่องจากโรคและการรักษา และด้านการเรียนรู้การมีชีวิตอยู่กับโรค หรือความพิการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวมีความต้องการมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคประจำตัวอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสารสนเทศทางการแพทย์th_TH
dc.subjectพฤติกรรมข่าวสารth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.titleความต้องการสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สหพันธ์ชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeThe health information needs of the elderly in Bangkok Senior Citizen Club Federationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe research aimed to (1) study the health information needs and (2) compare health information needs of the elderly in the Bangkok Senior Citizen Club Federation with different ages and health conditions. The survey research was conducted with 304 elderly, aged 60 years and over, of 4 public elderly club health centers in the Bangkok Senior Citizen Club Federation. They were selected based on specific random sampling. Data were collected by means of a questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, independent sample t-test, and One Way ANOVA. The key findings were as follows: (1) The elderly, age groups 60-69 years, 70-79 years, and 80 years and over, needed health information overall and in all aspects; health promotion and disease prevention information and treatment and rehabilitation information were at a moderate level. All groups needed treatment and rehabilitation information, which were the implementation of treatment plans, diagnosis, rehabilitation, and prevention of disease complications information and the perception, interest, and follow-up of pathology information overall at a high level. (2) For the comparison of health information needs between the age groups, it was found that the elderly of different ages needed health information and treatment and rehabilitation information differently, at a significance level of 0.05. That is, the elderly aged 60-69 years had a higher need than the group aged 80 years and over, at a significance level of 0.05. For the comparison of health information needs between health conditions, it was found that the elderly with different health conditions needed information on health promotion and disease prevention information about perception, care, and prevention of side effects due to disease and treatment and education about living with a disease or disability differently, at a significance level of 0.05. That is, those with a congenital disease had a higher need than those without a congenital disease, at a significance level of 0.05en_US
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.47 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons