Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10617
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรทิพย์ กีระพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนัสสา พูเอี่ยม, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-11-30T07:58:03Z-
dc.date.available2023-11-30T07:58:03Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10617-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของผู้รับบริการหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก (2) ศึกษาความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยใน (3) ศึกษาการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยใน (4) เปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยในในภาพรวม (5) เปรียบเทียบความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยใน ระหว่างหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษ และ (6) เปรียบเทียบการรับรู้ของผู้รับบริการด่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยใน ระหว่างหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษ ประชากร คือ ผู้ป่วยหรือญาติอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เข้ารับบริการที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จำนวนเฉลี่ย 288 คนต่อเดือน จำนวนตัวอย่าง 165 คน ได้จากการสุ่มแบบบังเอิญเป็นสัดส่วนกับจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดของแต่ละหอผู้ป่วยระหว่าง 1-31 กรกฏาคม 2562 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 จากผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาในโรงพยาบาลในวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น. เก็บข้อมูลครั้งแรกเพื่อประเมินความคาดหวังของผู้ป่วยในวันแรกที่รับเข้ารักษา และเก็บข้อมูลครั้งที่สองเพื่อประเมินการรับรู้ในวันที่จำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบวิลคอกซัน และการทคสอบแมนวิทนีย์ ยู ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้รับบริการที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 20-60 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท หอผู้ป่วยที่พักรักษาตัวคือ พักรักษาตัวในหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษ (2) ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยในอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งในภาพรวม รายด้าน และรายข้อ (3) การรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยในอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวม รายด้าน และรายข้อ (4) คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยใน ทั้งในภาพ รวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5) คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยในระหว่างหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (6) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยในระหว่างหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษไม่แตกต่างกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectความคาดหวัง (จิตวิทยา)th_TH
dc.subjectโรงพยาบาล--บริการลูกค้าth_TH
dc.titleความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลกth_TH
dc.title.alternativeExpectations and perceptions of clients about service quality of inpatient wards at fort Somdej Phranaresuan Maharaj Hospital, Phitsanulok Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis descriptive research aimed to: (1) identify personal characteristics of inpatients or clients at inpatient wards; (2) determine expectations of service quality among inpatients; (3) determine perceptions of service quality among inpatients; (4) compare the expectations and perceptions of service quality among inpatients; (5) compare clients’ expectations of service quality at ordinary and special wards; and (6) compare clients’ perceptions of service quality at ordinary and special wards, all at Fort Somdej Phranaresuan Maharaj Hospital, Phitsanulok province. The study was conducted in a sample of 165 inpatients or their relatives aged 18 or over, selected from all 288 inpatients (the monthly average number of inpatients), using accidental sampling proportionate to size of each ward. Data were collected in July 2019 during 08:00-16:00, Mondays–Fridays, twice each day, using a questionnaire with the reliability of 0.95 – firstly, on patients’ expectations upon admission, and secondly, on patients’ perceptions upon discharge. The data were then analyzed to determine percentages, means, and standard deviations, and perform Wilcoxon signed-ranks test and Mann-Whitney U test. Results showed that: (1) of all 165 clients or inpatients admitted to ordinary and special wards at the hospital, most of them were female, aged 20–60 years, and state officials or employees; had a bachelor's degree and a monthly income less than 0 2 02 2 2 baht; (2) their expectations about inpatient service quality were at the highest level, overall and aspect-specific; (3) their perceptions of inpatient service quality were at a high level in both overall and individual aspects; (4) their average scores of service quality expectations and perceptions, overall and aspect-specific, were significantly different; (5) their average scores of service quality expectations at ordinary and special wards were significantly different (p = 0.05); and (6) their average scores of service quality perceptions at ordinary and special wards were not differenten_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons