Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10617
Title: ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Expectations and perceptions of clients about service quality of inpatient wards at fort Somdej Phranaresuan Maharaj Hospital, Phitsanulok Province
Authors: พรทิพย์ กีระพงษ์
นัสสา พูเอี่ยม, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิตยา เพ็ญศิรินภา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --วิทยานิพนธ์
ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
โรงพยาบาล--บริการลูกค้า
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของผู้รับบริการหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก (2) ศึกษาความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยใน (3) ศึกษาการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยใน (4) เปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยในในภาพรวม (5) เปรียบเทียบความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยใน ระหว่างหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษ และ (6) เปรียบเทียบการรับรู้ของผู้รับบริการด่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยใน ระหว่างหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษ ประชากร คือ ผู้ป่วยหรือญาติอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เข้ารับบริการที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จำนวนเฉลี่ย 288 คนต่อเดือน จำนวนตัวอย่าง 165 คน ได้จากการสุ่มแบบบังเอิญเป็นสัดส่วนกับจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดของแต่ละหอผู้ป่วยระหว่าง 1-31 กรกฏาคม 2562 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 จากผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาในโรงพยาบาลในวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น. เก็บข้อมูลครั้งแรกเพื่อประเมินความคาดหวังของผู้ป่วยในวันแรกที่รับเข้ารักษา และเก็บข้อมูลครั้งที่สองเพื่อประเมินการรับรู้ในวันที่จำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบวิลคอกซัน และการทคสอบแมนวิทนีย์ ยู ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้รับบริการที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 20-60 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท หอผู้ป่วยที่พักรักษาตัวคือ พักรักษาตัวในหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษ (2) ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยในอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งในภาพรวม รายด้าน และรายข้อ (3) การรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยในอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวม รายด้าน และรายข้อ (4) คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยใน ทั้งในภาพ รวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (5) คะแนนเฉลี่ยความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยในระหว่างหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (6) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการหอผู้ป่วยในระหว่างหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษไม่แตกต่างกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10617
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons