Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10618
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorปฏิมา วอนยิ้มสกุล, 2534--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-11-30T08:04:46Z-
dc.date.available2023-11-30T08:04:46Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10618-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้และแหล่งความรู้ในการจัดการ โซ่อุปทานผักปลอดภัยของเกษตรกร 3) การจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยของเกษตรกร 4) ความคิดเห็นและความต้องการการ ส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยของเกษตรกร 5) ปัญหา ข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการจัดการ โซ่อุปทานผักปลอดภัยประชากรในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 756 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างคามสูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาคเคลื่อน 0.06 ได้จำนวน 204 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จัดเก็บข้อมูล โดยการ สัมภาษณ์และคัดเลือกเกษตรกรจำนวน 16 คน เพื่อทำการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 45.65 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.74 คน มีประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดภัยเฉลี่ย 6.79 ปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ยรายละ 19.53 ไร่ เกษตรกรมีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 183,356.50 บาทครัวเรือน/ปี แหล่งเงินทุนของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นทุนของตนเอง 2) ความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยอยู่ในระดับมากที่สุด แหล่งความรู้ในการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะจากสื่อกิจกรรม 3) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกผักกินใบและได้รับมาตรฐาน GAP โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มีการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ 4) เกษตรกรเห็นว่าการทำสะอาดก่อนบรรจุมีความสำคัญมากที่สุดและต้องการการส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะกระบวนการปลายน้ำ 5) ปัญหาของเกษตรกรในการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะกระบวนการปลายน้ำ สำหรับข้อเสนอแนะที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือ เจ้าหน้ที่ส่งเสริมการเกษตรควรส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน รองลงมาคือ ควรมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยและขยายเครือข่าย ส่วนแนวทางในการส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัย ได้แก่ ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยและสารชีวภัณฑ์ใช้เอง ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตผักปลอดภัย ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายค้านการผลิตและการตลาด และส่งเสริมการจัดทำแผนการผลิตอย่างเป็นระบบด้วยหลักการตลาดนำการเกษตth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผักปลอดสารพิษ--การผลิตth_TH
dc.subjectผักปลอดสารพิษ--การปลูกth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตรth_TH
dc.subjectเกษตรกร--ไทย--สุราษฎร์ธานีth_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานีth_TH
dc.title.alternativeGuidelines for extension of supply chain management regarding safety vegetable for farmers in Surat Thani Provineen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study personal, social, and economic conditions of farmers; 2) to gain an insight into their knowledge and knowledge resources in safety vegetable supply chain management of farmers 3) to study the farmers’ supply chain management of safe vegetables; 4) to explore the farmers’ opinions and needs for extension of supply chain management of safe vegetables; 5) to study the farmers’ problems, suggestions, and extension guidelines for safe vegetable supply chain management. The population of this research was 756 safe vegetable production farmers in Surat Thani province. The sample size of 204 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.06 and the simple random sampling method. Data were collected by interviews, and 16 farmers were selected to attend the focus group. Statistic analysis used in this study included frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking. Regarding the qualitative data, content analysis was employed. The results showed that 1) most of the farmers were male with the average age of 45.65 years and married. They completed primary school education level with the average household members of 1.74 people. On average, the farmers had 6.79 years' experience in producing safe vegetables. Most of them were members of agricultural institution with the average agricultural area owned at 19.53 Rai. The farmers had the average income from the agricultural sector at about 183,356.50 baht/household/year. The funding resource of the farmers was mainly their own. 2) The farmers’ knowledge about safety vegetable supply chain management was at the highest level, and the knowledge resource in safety vegetable supply chain management was at the high level especially from activities. Most of the farmers grew leafy vegetables and received GAP certification. 3) Most of the farmers had safety vegetable supply chain management covering the upstream, midstream, and downstream. 4) The farmers believed that the cleaning process prior to the packaging was the most important issue and wanted an extension in safe vegetable supply chain management at the high level especially for the downstream process. 5) Problems of farmers in managing the safety vegetable supply chain were at the high level especially in the downstream. Their suggestions that were at the highest level included a continuous support and promotion of supply chain from agricultural extension officers, followed by group establishment of safe vegetable producers and network expansion. Extension guidelines were promotion of self-made fertilizers and microbial pesticides, promotion of the adoption of technology and innovation in safety vegetable production, promotion of agricultural group formation in the form of large agricultural land plots, promotion of networking in production and marketing, and promotion of a systematic production plan using marketing principles in agriculture.en_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons