Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10618
Title: แนวทางการส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยของเกษตรกรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Guidelines for extension of supply chain management regarding safety vegetable for farmers in Surat Thani Provine
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปฏิมา วอนยิ้มสกุล, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ผักปลอดสารพิษ--การผลิต
ผักปลอดสารพิษ--การปลูก
การส่งเสริมการเกษตร
เกษตรกร--ไทย--สุราษฎร์ธานี
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้และแหล่งความรู้ในการจัดการ โซ่อุปทานผักปลอดภัยของเกษตรกร 3) การจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยของเกษตรกร 4) ความคิดเห็นและความต้องการการ ส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยของเกษตรกร 5) ปัญหา ข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการจัดการ โซ่อุปทานผักปลอดภัยประชากรในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 756 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างคามสูตร ทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาคเคลื่อน 0.06 ได้จำนวน 204 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จัดเก็บข้อมูล โดยการ สัมภาษณ์และคัดเลือกเกษตรกรจำนวน 16 คน เพื่อทำการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 45.65 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.74 คน มีประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดภัยเฉลี่ย 6.79 ปี ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ยรายละ 19.53 ไร่ เกษตรกรมีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 183,356.50 บาทครัวเรือน/ปี แหล่งเงินทุนของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นทุนของตนเอง 2) ความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยอยู่ในระดับมากที่สุด แหล่งความรู้ในการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะจากสื่อกิจกรรม 3) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกผักกินใบและได้รับมาตรฐาน GAP โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มีการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ 4) เกษตรกรเห็นว่าการทำสะอาดก่อนบรรจุมีความสำคัญมากที่สุดและต้องการการส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะกระบวนการปลายน้ำ 5) ปัญหาของเกษตรกรในการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัยอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะกระบวนการปลายน้ำ สำหรับข้อเสนอแนะที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือ เจ้าหน้ที่ส่งเสริมการเกษตรควรส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน รองลงมาคือ ควรมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยและขยายเครือข่าย ส่วนแนวทางในการส่งเสริมการจัดการโซ่อุปทานผักปลอดภัย ได้แก่ ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยและสารชีวภัณฑ์ใช้เอง ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตผักปลอดภัย ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบเกษตรแปลงใหญ่ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายค้านการผลิตและการตลาด และส่งเสริมการจัดทำแผนการผลิตอย่างเป็นระบบด้วยหลักการตลาดนำการเกษต
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10618
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons