Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10624
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปกกมล เหล่ารักษาวงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพิชชานันท์ มะลิทอง, 2528--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2023-12-01T01:59:48Z-
dc.date.available2023-12-01T01:59:48Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10624-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน และ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน ในเขตเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ประชากรที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน จํานวน 145 คน ใช้วิธีการคำนวณขนาดตัวอย่างจากสูตร คํานวณขนาดตัวอย่าง กรณีทราบจํานวนประชากร ได้จํานวน 80 คน ใช้วิธีการสุ่มโดยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 โดยผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เลขที่ IRB-SHS2019/1004/55 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และรายงานผล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควเทส ฟิชเชอร์เอ็กแซกเทส และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารภาพรวมอยู่ในระดับไม่ดี คือ นักเรียนมีพฤติกรรมไม่หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้วิธีการผัด ๆ ทอด ๆ และนักเรียนมีพฤติกรรมไม่หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมันหรือเนื้อติดหนัง F = 2.17, S.D. - 0.31) (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่าง คือ เพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครอง และระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่าง คือ ปัจจัยด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครอง และปัจจัยด้านระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของสมาชิกในครอบครัว มีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเป็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.001 โดยตัวแปรทั้ง 2 ตัวแปร ดังกล่าวสามารถร่วมกันทํานายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกินได้ร้อยละ 18.6 ข้อเสนอแนะในครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางให้บุคลากรสาธารณสุข ครู นําไปใช้ในการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนชั้นประถมศึกษาth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--เพชรบุรีth_TH
dc.subjectเด็กน้ำหนักเกิน--โภชนาการth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ที่มีภาวะโภชนาการเกินในเขตเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรีth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting food consumption behaviors among overweight 4th–6th grade students in Cha-am municipality, Phetchaburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis cross-sectional descriptive research aimed to identify: (1) food consumption behaviors; and (2) factors affecting food consumption behaviors, both among overweight students in grades 4–6 in the Cha-am municipal area, Phetchaburi province. The study was conducted in 80 students selected from 145 overweight students in grades 4–6, using the random sampling without replacement technique. Data were collected using a questionnaire on students’ food consumption behaviors with the validity value of 0.82 that was approved by the Human Research Establishment Committee, IRB-SHS 2019/1004/55. The statistics employed for data analysis and reporting were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, Fisher's exact test, and multiple regression analysis. The results showed that, among the respondents: (1) most of them had a food consumption behavior score at the unpleasant level which students didn’t avoid eating fried foods and meat with fat or skin. ( x = 2.17, S.D. = 0.31) and (2) factors affecting their food consumption behaviors were gender, age, parents’ average monthly income, and family members’ food consumption behavior level. The two factors, parents’ average monthly income and the level of family members’ food consumption behaviors, significantly affected overweight students’ food consumption behaviors (p < 0.001). Moreover, these two factors could predict 18.6% of food consumption behaviors of the overweight upper-elementary school students. Therefore, the study results can be used as a guideline for public health personnel and teachers in planning to solve the overweight problem in elementary school studentsen_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168960.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons