Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10632
Title: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับ ทักษะปฏิบัติเดวีส์ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวชิรธรรมโศภิต จังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: Effects of using cooperative learning activities with STAD technique and Davies’s practical skills on mathematical problem solving ability in the topic of Power number of grade 7 students at Wachirathamsopit School in Phetchaburi Province
Authors: สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก
เสาวลักษณ์ ดีฉ่ำ, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
คณิตศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับทักษะปฏิบัติเดวีส์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกําลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับทักษะปฏิบัติเดวีส์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวชิธรรมโศภิต จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียน 16 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับทักษะปฏิบัติเดวีส์ เรื่อง เลขยกกำลัง และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ มัธยฐาน และสถิติทดสอบวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับทักษะปฏิบัติเดวีส์ ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับทักษะปฏิบัติเดวีส์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10632
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
168946.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons