กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10637
ชื่อเรื่อง: ความรู้และการจัดการเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและชนบท จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Knowledge and management of food and nutrition for the elderly in urban and rural areas, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สำอาง สืบสมาน
ศรีนคร ศรีแก้ว, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุนันท์ สีสังข์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ--วิทยานิพนธ์
ผู้สูงอายุ--โภชนาการ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการและการจัดการอาหารผู้สูงอายุ (2) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการและการจัดการอาหารผู้สูงอายุและ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการกับการจัดการอาหารผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและชนบท จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 318 คน จากประชากรผู้สูงอายุชุมชนเมืองที่อาศัยอยู่ในชุมชนข่วงสิงห์พัฒนา และชุมชนบ้านท่อ แขวงนครพิงค์ เทศบาลนครเชียงใหม่ และชุมชนชนบทที่อาศัยในตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 1,534 รายการ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและในชนบทตามลำดับดังนี้ เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 63.1 และ 58.2) มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 60-69 ปี (ร้อยละ 63.8 และ 62.0) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 49.4 และ 60.1) ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่กับบุตรหลาน/ญาติพี่น้อง (ร้อยละ 50.6และ 27.8) อยู่กับคู่สมรส (ร้อยละ 41.9 และ 57.6) ระดับการศึกษาจบประถมศึกษา (ร้อยละ 58.8 และ76.6) ส่วนมากมีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 36.2 และ15.8) อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 6.9 และร้อยละ 36.7) รายได้ต่อเดือนในครัวเรือนส่วนใหญ่อยู่ช่วงระหว่าง 10,001-15,000 บาท/เดือน (ร้อยละ31.2 และ 7.6) ผู้สูงอายุทั้งชุมชนในเมืองและชุมชนชนบทมีระดับความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (1.80 ±0.21 และ 1.75 ±0.28) ตามลำดับ โดยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเปรียบเทียบการจัดการอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท พบว่ามีความการจัดการอาหารของผู้สูงอายุ ในชุมชนชนบทมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าชุมชนเมืองอย่างมี แตกต่างกัน โดยนัยสำคัญทางสถิติ (t=2.68, df=316.0, p<0.01) ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการมีความสัมพันธ์กับการจัดการอาหารของผู้สูงอายุในทิศทางความสัมพันธ์เดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความสัมพันธ์น้อย (r=0.293, <0.01)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10637
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons