Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10640
Title: | วัฒนธรรมเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยของหน่วยงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์ |
Other Titles: | Patient safety culture for pharmacy departments at community hospitals in Kalasin Province |
Authors: | นิตยา เพ็ญศิรินภา อำพล อรดี, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พรทิพย์ กีระพงษ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาล--มาตรการความปลอดภัย เภสัชกรรม--มาตรการความปลอดภัย |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคล องค์กร และวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วย (2) เปรียบเทียบวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ทำนายอิทธิพลของปัจัยส่วนบุคคล องค์กร และวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของบุคลากรฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดกาพสินธุ์ ประชากรที่ศึกษาคือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดกาพสินธุ์ จำนวน 202 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 104 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือคือแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงด้านองค์กรตามองค์ประกอบ 7 ประการของแมคคินซีย์ และด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยเท่ากับ 0.90 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทคสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถคถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า (1) บุคลากรฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีอายุเฉลี่ย 33.9 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ปฏิบัติงานในสายงานนี้น้อยกว่า 10 ปี มีตำแหน่งเภสัชกร ร้อยละ 43.30 เกือบทั้งหมคทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน เกือบร้อยละ 90 เข้ารับการอบรมในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมาเพื่อรองรับงานเภสัชกรรม และงานพัฒนาคุณภาพ ร้อยละ 50 และ 38.50 ตามลำดับ การประเมินปัจจัยองค์กรตามองค์ประกอบ 7 ประการของเมคดินซีย์ พบว่า ด้านกลยุทธ์ ด้านโครงสร้งองค์กร ด้านระบบ ด้านบุคลากร ด้านทักษะ และด้านค่านิยมร่วมอยู่ในระดับดี มีเพียงด้านสไตล์อยู่ในระดับพอใช้ สำหรับระดับวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยพบว่าอยู่ในระดับสูงทุกองค์ประกอบทั้งในภาพรวมและราย (2) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของบุคลากรเมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วย คือ ปัจจัยด้านองค์กร โดยอธิบายได้ร้อยละ 73.4 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยองค์กรด้านกลยุทธ์ ด้านบุคลากร และด้านระบบ สามารถพยากรณ์วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยได้ร้อยละ 77.2 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10640 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License