Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10642
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
Other Titles: Factors affecting pulmonary tuberculosis preventive behaviors among diabetic patients in Nong Thong Sub-district, Pa Bon District, Phatthalung Province
Authors: ธีระวุธ ธรรมกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐจิตรา ทองกุ้ง, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
วัณโรค--การป้องกันและควบคุม
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรงของโรค และความคาดหวังต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน (2) พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ (3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรงของโรค และความคาดหวังต่อการป้องกันวัณโรคปอด ต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง จำนวน 183 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งหมด 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นในส่วนของความรู้เท่ากับ 0.84 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค ในส่วนของด้านการรับรู้ และด้านความคาดหวังเท่ากับ 0.861 และ 0.927 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วงวัยผู้สูงอายุมีระยะเวลาการป่วยด้วยโรคเบาหวานน้อยกว่า 10 ปี มีระดับน้ำตาลในเลือคฮีโมโกลบินเอวันซี 27 % กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอดอยู่ในระดับสูง การรับรู้เกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค และความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองในการป้องกันวัณโรคปอดอยู่ในระดับมากที่สุดและความเชื่อมั่นในความสามารถของตนในการป้องกันวัณโรคปอดอยู่ในระดับมาก (2) ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอด อยู่ในระดับดีมาก และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอด ได้แก่ เรื่องเพศ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และความเชื่อมั่นในความสามารถของตนในการป้องกันวัณโรคปอด โดยสามารถทำนายได้ ร้อยละ 28.4
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10642
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162052.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons