Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10644
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารยา ประเสริฐชัยth_TH
dc.contributor.authorรุ่งนภา ธูปหอม, 2536-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2023-12-04T03:12:38Z-
dc.date.available2023-12-04T03:12:38Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10644en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชน (2) คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย ทัศนคติเกี่ยวกับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย การเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย และปัจจัยสนับสนุนเกี่ยวกับการใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย ทัศนคติเกี่ยวกับการรักษา ด้วยแพทย์แผนไทย การเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย และปัจจัยสนับสนุนเกี่ยวกับการใช้บริการแพทย์แผนไทย กับการใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนที่เคยใช้บริการแพทย์แผนไทยสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ บ้านคลองบางปิ้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเมือง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเมืองใหม่ ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้จำนวน 360 คนจากนั้นทำการสุ่มแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค มีค่าความเชื่อมันเท่ากับ .85 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไค-สแควร์ และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) การใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนมีระดับการตัดสินใจภาพรวมอยู่ ในระดับมาก ด้านเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริ การ (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 51-60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทยในระดับสูง มีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย การเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย พบว่า ระยะทางจากบ้านมาถึงโรงพยาบาลส่วนใหญ่ห่างกัน 5-10 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาเดินทาง 15-30 นาที และใช้ระยะเวลารอคอยเพื่อรับบริการ น้อยกว่า 15 นาที ปัจจัยสนับสนุนเกี่ยวกับการใช้ บริการแพทย์แผนไทยอยู่ในระดับปานกลาง โดยบุคคลที่แนะนำให้มาใช้บริการแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่ คือ ญาติ เพื่อนบ้าน และได้รับข้อมูลข่าวสารจากคำบอกเล่าของเพื่อนบ้าน/เพื่อนร่วมงานมากที่สุด (3) คุณลักษณะส่วน บุคคล ความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย ทัศนคติเกี่ยวกับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย การเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยสนับสนุนเกี่ยวกับการใช้บริการแพทย์แผนไทยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำมาก กับการใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .12th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการแพทย์แผนไทยth_TH
dc.subjectการแพทย์แผนโบราณ--ไทย--สมุทรปราการth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์--ไทย--สมุทรปราการth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการth_TH
dc.title.alternativeFactors related to the use of Thai traditional medicine services among the people in Bang Mueang Municipality, Samut Prakan Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis survey research aimed to study (1) the use of traditional Thai medicine (TTM) services among the people; (2) personal characteristics, knowledge of TTM, attitudes towards TTM treatment, access to TTM services, and supporting factors concerning the use of TTM services of the people; and (3) the relationship between personal characteristics, TTM knowledge, TTM treatment attitudes, TTM service access as well as TTM use supporting factors and the use of TTM services among the people in the Bang Mueang municipal area, Samut Prakan province The study was conducted in a sample of 360 people purposively selected from all TTM service clients at Khlong Bang Ping and Bang Mueang Mai subdistrict health promoting hospitals. Data were collected using a questionnaire whose content had been validated by experts – its reliability or Chronbach coefficient alpha was 0.85. Statistics used for analysis are percentage, mean, standard deviation, Chi-square test and Pearson's correlation coefficient. The results showed that: (1) The people’s overall level of decision-making in using TTM services was high, concerning service providers; (2) Among respondents, most of them were females aged 51–60 years, and had a high level of TTM knowledge and a positive attitude about TTM treatment. Regarding service access, the home-hospital distances were mostly 5–10 kilometers; the travel time was 15–30 minutes, and the waitingtime to receive services was less than 15 minutes. The level of supporting factors for the use of TTM services was moderate; and the use had been recommended or urged mostly by relatives and neighbors, or as per the information or stories heard from neighbors or colleagues; and (3) For TTM clients in the Bang Mueang municipal area, personal characteristics, TTM knowledge, treatment attitudes, and service accessibility were significantly associated with clients’ TTM service usage, p = 0.05; and supporting factors had a very significantly low level of relationship with the service usage, p = 0.05, with a correlation coefficient of 0.12.en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162051.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons