Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10644
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Factors related to the use of Thai traditional medicine services among the people in Bang Mueang Municipality, Samut Prakan Province
Authors: อารยา ประเสริฐชัย
รุ่งนภา ธูปหอม, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การแพทย์แผนไทย
การแพทย์แผนโบราณ--ไทย--สมุทรปราการ
บริการทางการแพทย์--ไทย--สมุทรปราการ
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชน (2) คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย ทัศนคติเกี่ยวกับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย การเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย และปัจจัยสนับสนุนเกี่ยวกับการใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย ทัศนคติเกี่ยวกับการรักษา ด้วยแพทย์แผนไทย การเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย และปัจจัยสนับสนุนเกี่ยวกับการใช้บริการแพทย์แผนไทย กับการใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนที่เคยใช้บริการแพทย์แผนไทยสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ บ้านคลองบางปิ้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเมือง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเมืองใหม่ ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้จำนวน 360 คนจากนั้นทำการสุ่มแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค มีค่าความเชื่อมันเท่ากับ .85 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไค-สแควร์ และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) การใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนมีระดับการตัดสินใจภาพรวมอยู่ ในระดับมาก ด้านเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริ การ (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 51-60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทยในระดับสูง มีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย การเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย พบว่า ระยะทางจากบ้านมาถึงโรงพยาบาลส่วนใหญ่ห่างกัน 5-10 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาเดินทาง 15-30 นาที และใช้ระยะเวลารอคอยเพื่อรับบริการ น้อยกว่า 15 นาที ปัจจัยสนับสนุนเกี่ยวกับการใช้ บริการแพทย์แผนไทยอยู่ในระดับปานกลาง โดยบุคคลที่แนะนำให้มาใช้บริการแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่ คือ ญาติ เพื่อนบ้าน และได้รับข้อมูลข่าวสารจากคำบอกเล่าของเพื่อนบ้าน/เพื่อนร่วมงานมากที่สุด (3) คุณลักษณะส่วน บุคคล ความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย ทัศนคติเกี่ยวกับการรักษาด้วยแพทย์แผนไทย การเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยสนับสนุนเกี่ยวกับการใช้บริการแพทย์แผนไทยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำมาก กับการใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .12
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10644
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162051.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons