กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1064
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินกิจกรรม อ.ย. น้อยของครูในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาสในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to young FDA volunteers activities of teachers in secondary schools and opportunity expansion schools in Nakhon Sawan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
รวีพันธ์ จูฑะพันธุ์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) คุณลักษณะของสถานศึกษาและปัจจัยส่วนบุคคลของครูผู้รับผิดชอบดำเนินการกิจกรรม อย.น้อย (2) ความคิดเห็น แรงจูงใจและกาประสานงานผลการดำเนินการกิจกรรม อย.น้อยของครูผู้รับผิดชอบดำเนินการกิจกรรม อย.น้อย และระดับการดำาเนินการกิจกรรมอย.น้อย (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล คุณลักษณะของสถานศึกษา ความคิดเห็น แรงจูงใจและการประสานงานของครูผู้รับผิดชอบดำเนินการกิจกรรม อย.น้อยกับผลการดำเนินการกิจกรรม อย.น้อย และ (4) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินการกิจกรรม อย.น้อย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรม อย.น้อย โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจํานวน 150 คน เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานร้อยละการทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ครูผู้รับผิดชอบดำเนินการกิจกรรม อย.น้อย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจบ การศึกษาปริญญาตรี อายุเฉลี่ย 47 ปี ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่นอกเขตเทศบาล มีจำนวนร้านค้าในโรงเรียน 2 ร้าน นอกโรงเรียน 3 ร้าน (2) ความคิดเห็น แรงจูงใจ การประสานงาน และผลการดำเนินการกิจกรรม อย.น้อยอยู่ในระดับปานกลาง (3) เพศ ตำแหน่ง อายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ขนาดของโรงเรียนหน่วยงานทีโรงเรียนสังกัด ที่ตั้งของโรงเรียน จํานวนร้านค้าในและนอกบริเวณโรงเรียน ไม่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินการกิจกรรม อย.น้อย แต่ระดับการค้กษาและการอบรมมีความสัมพันธ์กับการดำเนินการกิจกรรม อย.น้อยที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็น มีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างต่ำกับการดำเนินการกิจกรรม อย.น้อย ส่วนแรงจูงใจและการประสานงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับการดำเนินการกิจกรรม อย.น้อย ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.01 และ (4) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการที่สำคัญ คือ บุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอ งานที่ให้ดำเนินการไม่ตรงกับงานวิชาการที่รับผิดชอบ โดยมีข้อเสนอแนะ คือ ควรมอบหมายงานให้ตรงกับครูที่รับผิดชอบหรือจัดอบรมให้กับครูผู้รับผิดชอบ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1064
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
127859.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons