Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10656
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวรรณี มณีประวัติ, 2516--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-12-04T06:12:47Z-
dc.date.available2023-12-04T06:12:47Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10656-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของเยาวชน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของเยาวชน จำแนกตามเพศ อายุ สภาพทางครอบครัว สถานที่พักอาศัย อาชีพของผู้ปกครอง และค่าใช้จ่ายต่อเดือน และ (3) ศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ด้านการควบคุมตนเอง ด้านสัมพันธภาพในครอบครัว ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน ที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของเยาวชน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นเยาวชน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา จำนวน 120 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน คือ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของเยาวชน และ (3) แบบสอบถามด้านการรับรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ด้านการควบคุมตนเอง ด้านสัมพันธภาพในครอบครัว ด้านสัมพันธภาพกับเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของเยาวชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) เยาวชนที่มีเพศ สภาพทางครอบครัว ค่าใช้จ่ายต่อเดือนแตกต่างกันมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเยาวชนที่มีอายุ สถานที่พักอาศัย อาชีพของผู้ปกครองแตกต่างกันมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของเยาวชนไม่แตกต่าง และ (3) ปัจจัยด้านการรับรู้เกี่ยวกับยาเสพติดสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดของเยาวชน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลาได้ร้อยละ 8 และสามารถสร้างสมการถดถอยเพื่อใช้ในการพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของเยาวชนได้ดังนี้ พฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดของเยาวชน = 0.84 + 0.17 (ด้านการรับรู้เกี่ยวกับยาเสพติด)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectเยาวชน--การใช้ยา--ไทย--สงขลาth_TH
dc.subjectยาเสพติด--การป้องกัน--ไทย--สงขลาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาth_TH
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของเยาวชน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลาth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting drugs prevention behaviors of youths in Saba Yoi District, Songkhla Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to study drugs prevention behaviors of youths in Saba Yoi district, Songkhla province; (2) to compare drugs prevention behaviors of youths as classified by gender, age, family condition, dwelling place, parental occupation, and monthly expense; and (3) to study the factors of drugs perception, self-control, relationship within the family, and relationship with friends that could predict drugs prevention behaviors of youths in Saba Yoi district, Songkhla province. The research sample consisted of 120 youths in Saba Yoi district, Songkhla province, obtained by multi-stage random sampling. The employed research instrument was a questionnaire consisting of three parts: (1) Part 1 containing question items on general information of the respondent; (2) Part 2 containing question items on drugs prevention behaviors of youths; and (3) Part 3 containing question items on drugs perception, self-control, relationship within the family, and relationship with friends. Data were analyzed using the percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, and multiple regression analysis. Research findings showed that (1) the overall drugs prevention behavior of youths was rated at the high level; (2) youths with different genders, family conditions, and monthly expenses differed significantly in their drugs prevention behaviors at the .05 level of statistical significance; while youths with different ages, dwelling places, and parental occupations did not significantly differ in their drugs prevention behaviors; and (3) the drugs perception factor could predict drugs prevention behaviors of youths in Saba Yoi district, Songkhla province by 8 percent; and the regression equation for prediction of drugs prevention behaviors of youths was created as follows: drugs prevention behaviors of youths = 0.84 + 0.17(drugs perception).en_US
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161859.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons