Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10659
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนูญ โต๊ะยามา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวสุ สุวรรณวิหค, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพิฐชา เกิดเกตุกาญจน์, 2519--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-04T06:46:41Z-
dc.date.available2023-12-04T06:46:41Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10659-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของผู้มีเงินได้จากเงินเดือนและค่าจ้างที่มีหน้าที่ยื่นแบบภาษีเงินได้ในจังหวัดพิษณุโลก 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจยื่นแบบภาษีเงินได้ภายในกําหนดเวลา 3) ปัจจัยด้านหน่วยงานสรรพากรพื้นที่ที่มีผลต่อการยืนแบบภาษีเงินได้ภายในกําหนดเวลา 4) ทัศนคติของผู้ยื่นแบบที่มีผลต่อการยื่นแบบภาษีเงินได้ภายในกําหนดเวลา และ 5) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการยื่นแบบภาษีเงินได้ภายในกําหนดเวลา การศึกษาใช้ตัวอย่างจำนวน 400 คน จากผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) ที่มีหลักแหล่งเงินได้ประเภทเงินเดือนและค่าจ้างในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากตัวอย่างและการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่สรรพากรในเขตพื้นที่สรรพากรพิษณุโลกจำนวน 20 คน ข้อมูลที่ได้มีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และแบบจําลองการถดถอยโลจิสติก ผลการศีกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ 40-54 ปี เป็นพนักงานเอกชน/รับจ้าง จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่า มีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน อยู่ในเขตอำเภอเมือง มีสมาชิกในครัวเรือน 3-5 คน และมีบุคคลที่ต้องอุปการะ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจยื่นแบบภาษีเงินได้ภายในกําหนดเวลาของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดและผู้ที่อยู่ในอำเภอเมืองพิษณุโลกที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุ อาชีพ การมีผู้ที่ต้องอุปการะ และภูมิลำเนา โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีโอกาสยื่นแบบภาษีภายในกําหนดเวลามากกว่า ได้แก่ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า มีอาชีพรับราชการ ไม่มีผู้ที่ต้องอุปการะ และผู้ที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก สําหรับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในเขตอำเภอรอบนอกนั้น ไม่พบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการยื่นแบบภาษีเงินได้ภายในกำหนดเวลาอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 3) ปัจจัยด้านหน่วยงานสรรพากรที่มีผลต่อการยื่นแบบภาษีเงินได้ภายในกําหนดเวลา ได้แก่ วิธีการยื่นแบบ การบริการของเจ้าหน้าที่ สถานที่จอดรถเพียงพอ ระยะเวลาดำเนินการที่เหมาะสม และการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ตามลำดับ 4) ค่าเฉลี่ยของทัศนคติของผู้ยื่นแบบภายในกําหนดเวลาที่มีมากกกว่าผู้ไม่ยื่นแบบภายในกําหนดเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ความคาดหวังในการใช้จ่ายเงินภาษีของรัฐ ความซับซ้อนในการยื่นแบบ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี และความคิดเห็นด้านบทลงโทษ และ 5) ปัญหาอุปสรรคในการยื่นแบบภายในเวลา ได้แก่ การมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ การมีผู้ไม่อยู่ในระบบภาษีจำนวนมาก และปัญหาด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะได้แก่ การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระเบียบข้อกฎหมายต่าง ๆ การลดขั้นตอนการยื่นแบบฯ และการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิผลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectแบบแสดงรายการภาษีเงินได้--ไทย--พิษณุโลกth_TH
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในกำหนดเวลาในจังหวัดพิษณุโลกth_TH
dc.title.alternativeFactors involving the decision towards personal income tax filing within time limit in Phitsanulok Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to study: 1) the general conditions of taxpayers earning incomes from salaries and wages who have to file personal income tax in Phitsanulok Province; 2) taxpayers’ personal factors affecting the decision to filing personal income tax within the time limit; 3) factors concerning the Revenue Department determining income tax filing within the time limit; 4) taxpayers’ attitudes affecting income tax filing within the time limit; 5) problems, obstacles and suggestions concerning income tax filing within the time limit. The study collected data from 400 samples, derived from taxpayers who had to file personal income tax (P.N.D.91) whose their incomes occured from salaries and wages in Phitsanulok province. The data were collected by using questionnaires. It also gathered from 20 revenue officers in Phitsanulok province through in-depth interviews. The data were analyzed by using descriptive and quantitative methods. Statistics employed in the analysis comprise frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and logistic regression model. The results showed that: 1) The majority of the sample were female, 40-54 year old, private employees or employment occupation, completed bachelor’s degree and over education level, earned no more than 20,000 baht/monthly income, located in Mueang district, had 3-5 household members and patronage persons. 2) Personal factors affected the decision to file personal income tax within time limit of all sample and those in Mueang Phitsanulok district, at .05 statistical significance, were age, occupation, patron, and location. Those who were younger, government officers, non-patron, and located in Mueang Phitsanulok district tended to file the tax within the time limit. However, there were no any personal factors, at.05 statistical significance in outer districts.3) Revenue Department’s factors affecting the personal income tax filing within the time limit from the attitudes of the taxpayers comprised the tax filing method, tax officers’ services, parking available, appropriated operating time, and public relation to educate, respectively. 4) Mean average attitudes of taxpayers filing the tax within the time limit were higher than those who filed the tax past the time limit, at .01 statistical significance, were the expectation of public tax spending, the complexity of tax filing, social responsibilities, fairness of taxation, and penalty comments. And 5) The problems and obstacles of tax filing within the time limit were not enough the staff, more taxpayers in non-tax system, and the problems of tax law and relted regulations . The suggestions included making public relation to educate legal regulations about tax filing, reducing filing processes, and effectively enforcing lawsen_US
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.27 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons