Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10664
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพลชัย พิพิธวรกุล, 2512--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-12-04T07:05:14Z-
dc.date.available2023-12-04T07:05:14Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10664-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิคกี่ยวกับทฤษฎีและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลิกสัญญา 2) ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการเลิกสัญญาเช่าซื้อและสิทธิในการเรียกค่าเสียหายตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ 3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายและสิทธิในการเรียกค่าเสียหาย โดยเฉพาะกรณีการคุ้มครองผู้เช่าซื้อที่เป็นผู้บริโภค และ 4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับนานาประเทศ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเป็นวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าจากตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตำรา หนังสือ บทความทางวิชาการ แนวคำพิพากษาศาลฎีกา รวมทั้งการศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) การเลิกสัญญาโดยปริยาย คือ การเลิกสัญญาที่ไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดแต่คู่สัญญาตกลงยินยอมให้เลิกสัญญาโดยไม่โต้แย้ง 2) จากหลักกฎหมายของต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ พบว่ามีความคล้ายคลึงกัน โดยความเสียหายนั้นลูกหนี้จะต้องคาดเห็นได้ ในส่วนของกฎหมายไทยมีการบัญญัติเรื่องความเสียหายไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และมีการกำหนดวิธีคิดค่าเสียหายตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา 3) ปัญหาคือการบัญญัติกฎหมายตามเดิมจะเป็นช่องทางให้ผู้ให้เช่าซื้อเอาเปรียบผู้เช่าซื้อที่เป็นผู้บริโภคโดยการยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และเมื่อเลิกสัญญาแล้วคู่สัญญายังคงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เหมือนดังการเลิกสัญญาที่ถูกต้องตามแบบ 4) ข้อเสนอแนะคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาควรมีการปรับปรุงให้มีความหมาะสมและเป็นธรรม โดยมีหลักการว่า เมื่อมีการเลิกสัญญาที่ขัดต่อวิธีการเลิกสัญญาในสองมาตราก่อน แต่คู่สัญญายินยอมเลิกสัญญาโดยไม่ได้แย้งให้ถือว่าเป็นการเลิกสัญญาโดยปริยาย และให้ถือว่าสิทธิในการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกสัญญาตกเป็นพับแก่คู่กรณีth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์--เช่าซื้อth_TH
dc.subjectค่าเสียหายth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจth_TH
dc.titleการเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายและสิทธิในการเรียกค่าเสียหายth_TH
dc.title.alternativeTacit termination of contracts and rights to claim for damagesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study has the objectives 1 ) to study the theoretical concept and rules related to the termination of contract, 2) to study legal principles relating to the termination of hire-purchase contracts and rights to claim damages in Thai law and some foreign countries, 3) to analyze the problems on tacit termination of hire-purchase contracts and rights to claim damages, especially in case of hire-purchase consumers, and 4) to propose the guideline to improve the law to be appropriate and in line with international countries. This independent study is a qualitative research to study on the documents from relevant laws, textbooks, books, academic articles, judgment of the Supreme Court as well as the study of relevant information from the internet. From the results of the study, it was found that: 1) Tacit termination of the contract referred to the action to terminate the contract illegally, but both parties agreed to terminate the contract without have any dispute. 2 ) According to the principle of laws of such foreign countries as France, Germany and England, they are similar that damages must be anticipated by the debtors. In Thai Law, the Civil and Commercial Code and the Notification of the Contract Committee under the law on consumer protection regarding car and motorcycle hire-purchase business provide legal rules on this matter. 3) The problems is that the previous law provisions have some loophole to allow the lender to take advantages of the hirer who is the consumer by confiscated the hire-purchase vehicle before the term specified by law and after that, the party can still exercise the right to claim for damages as if the contract is terminated legally. 4) The suggestion is that Thai Civil and Commercial Code and the Notification of the Contract Committee regarding car and motorcycle hire-purchase business was the business that control the contract, so there should be appropriate and fair amendment in principle that when there is a termination of the contract which is contrary to the method of termination in the first two sections, but it is agreed by both parties to terminate the contract without dispute, it shall be considered tacit termination of contract, so the rights to claim for damages arising from the termination of the contract shall vested to the litiganten_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161862.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons