Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10672
Title: | การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ : ศึกษากรณีการค้ามนุษย์เพื่อการค้าประเวณี |
Other Titles: | Analytical study of the problems in the enforcement of Human Trafficking Prevention and Suppression law : a case study of human trafficking for prostitution |
Authors: | ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล อารีย์วรรณ มูลน้อย, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิมาน กฤตพลวิมาน |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 การค้าประเวณี--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาที่มาของการค้าประเวณีที่นำไปสู่การค้ามนุษย์ (2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี และการค้ามนุษย์ (3) ศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ในประเทศไทย และสาธารณรัฐสวีเดน สาธารณรัฐนอร์เวย์ และราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (4) ศึกษาพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (5) วิเคราะห์ สรุป ปัญหาการค้าประเวณีที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และประมวลกฎหมายอาญา รวมถึง บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ ของประเทศไทย และต่างประเทศ ที่เกี่ยวกับการค้าประเวณี ที่เป็นการค้ามนุษย์ โดยการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบซึ่งในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้วิจัยจะทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์จากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนํามาเป็นแนวทางในการจัดทําข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณ พ.ศ. 2539 ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) การค้ามนุษย์เพื่อค้าประเวณี จะต้องเป็นการบังคับ ขู่เข็ญ เหยื่อให้ค้าประเวณีและแสวงหาประโยชน์ในทางเพศรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการที่หลากหลาย สลับซับซ้อน ยากต่อการจับกุมและลงโทษผู้กระทำความผิด (2) การนำมนุษย์มาขายเหมือนเป็นสินค้า เป็นการกระทําที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและเป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง (3) การให้ความคุ้มครองเหยื่อจากการค้ามนุษย์ มีความสัมพันธ์กับแนวคิดในการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ที่ให้ความคุ้มครองเหยื่อจากการค้าประเวณี ซึ่งสาธารณรัฐสวีเดน สาธารณรัฐนอร์เวย์นั้นมีกฎหมายลงโทษผู้ซื้อบริการทางเพศ เพื่อให้ความคุ้มครองเหยื่อ เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ของประเทศไทย ที่มีขึ้นเพื่อคุ้มครองเหยื่อจากการค้าประเวณี ส่วนราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์กลับมองว่าอาชีพค้าประเวณีเป็นอาชีพที่สุจริต แรงงานที่ให้บริการทางเพศมีสิทธิได้รับสวัสดิการของรัฐ และสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ ต้องชำระภาษี มีการตรวจสุขภาพ ซึ่งมีความแตกต่างจากสาธารณรัฐสวีเดน สาธารณรัฐนอร์เวย์ และประเทศไทย (4) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ไม่มีบทนิยาม มีความล้าหลัง เนื้อหาไม่ครอบคลุม ไม่มีกลไกและสภาพการบังคับใช้กฎหมายกับบทลงโทษที่เป็นการยับยั้งไม่ให้มีการกระทำความผิด (5) แก้ไขเพิ่มเติม บทนิยาม ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และยกเลิกบทบัญญัติในมาตรา 5 ทั้งมาตรา และนำเสนอบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการและกระบวนการที่นำไปสู่การค้ามนุษย์ กําหนดการกระทําที่เป็นความผิดในทางเพศกระทําต่อเหยื่อไม่ว่าจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม และเพิ่มโทษในมาตรา 6,7,8,9,10,11,12 เพื่อเป็นการป้องปราม ยับยั้งการกระทําความผิด และคุ้มครองเหยื่อซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการค้าประเวณีที่เป็นการค้ามนุษย์ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10672 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License