กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10683
ชื่อเรื่อง: การควบคุมตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Controlling and checking of government officer under the law Government Procurement and Supplies Management
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณฐพล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
พนักงานเจ้าหน้าที่
การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครอง
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาแนวคิดในการควบคุมตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกลไกการควบคุมตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการพัสดุภาครัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาและต้นแบบกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐตามมติคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศเพื่อให้ทราบปัญหาที่ทำให้การใช้บังคับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ไม่มีประสิทธิภาพรัฐจัดหาพัสดุได้ราคาแพงไม่ตรงกับความต้องการและได้แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้ใช้บังคับอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ผลการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ไม่เปิดโอกาสให้เอกชนสามารถอุทธรณ์ร้องเรียนการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุของเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ฐได้อีกทั้งยังทั้งยังไม่ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียนซึ่งมีอำนาจไต่สวนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกอุทธรณ์ร้องเรียนว่าทุจริตหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายมีหน้าที่ร้องทุกข์กล่าวโทษฟ้องคดีหรือส่งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงพร้อมทั้งความเห็นเกี่ยวกับการกระทำความผิดและเอกสารหลักฐานที่รวบรวมมาได้ให้แก่พนักงานสอบสวนพนักงานอัยการหรือศาลเพื่อเริ่มต้นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในกรณีที่ไต่สวนแล้วเห็นวเห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้องเช่นกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนรายใดรายหนึ่งให้เข้ามาเป็นคู่สัญญารัฐหรือทำการบริหารสัญญาและตรวจรับพัสดุไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเป็นต้นและยังพบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุมักขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องในทางเทคนิคของพัสดุที่จะจัดหาและขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องทำให้วิตกกังวลในการปฏิบัติหน้าที่และไม่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10683
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161072.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons