กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10689
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิอินทรีย์สำหรับเกษตรกรในอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An extension of organic Hom Mali rice production and marketing for farmers in Phayakkhaphum Phisai District of Maha Sarakham Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพิชฌาค์ ห่อทอง, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าวหอมมะลิ--การตลาด
ข้าวหอมมะลิ--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของเกษตรกร 3) กระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ของเกษตรกร 4) ปัญหาการส่งเสริมเกษตรกรในการผลิตและการตลาดของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ และ 5) ความต้องการของเกษตรกรในการส่งเสริมการผลิตและการตลาดของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรอายุเฉลี่ย 54.14 ปี ร้อยละ 41.1 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.14 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 23.39 ไร่ 2) เกษตรกรมีประสบการณ์การผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เฉลี่ย 22.91 ปี พื้นที่ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เฉลี่ย 18.31 ไร่ ผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เฉลี่ย 383.40 กก.ต่อไร่ ราคาข้าวหอมมะลิอินทรีย์เฉลี่ย 12.62 บาท/กก. รายได้จากข้าวหอมมะลิอินทรีย์เฉลี่ย 4,907 บาท/ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 2,522.20 บาท/ไร่ ร้อยละ 71.6 ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปข้าวหอมมะลิอินทรีย์เป็นขนมคบเคี้ยว อาหารเสริม ราคาขายข้าวเปลือกเฉลี่ย 12.62 บาท/กก. ขายแบบข้าวสารในราคาเฉลี่ย 45.47 บาท/กก. 3) เกษตรกรปฏิบัติตามกระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์เป็นประจำเกือบทุกประเด็น ได้แก่ การเลือกพื้นที่ การปลูก การดูและรักษา และการเก็บเกี่ยว 4) เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์อยู่ในระดับมาก คือ การตลาดผลผลิตและผลิตภัณฑ์ ระดับปานกลาง ได้แก่ ตัวเกษตรกรเองและการเพิ่มมูลค่าผลผลิต และระดับน้อยคือกระบวนการผลิตข้าว 5) เกษตรกรต้องการการส่งเสริมการผลิตและการตลาดของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ อยู่ในระดับมากทุกประเด็น ได้แก่ ปัจจัยการผลิต แหล่งงินทุนกระบวนการส่งเสริมเกษตรกร และการพัฒนาการผลิตและการตลาด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10689
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons