Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10730
Title: แนวทางการพัฒนาห้องสมุดตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2
Other Titles: Guidelines for development of school library in accordance with library standards of primary schools, Pong district, under Payao Primary Educational Service Area Office 2
Authors: กุลชลี จงเจริญ
บุญณิกา บุญถึง, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ห้องสมุดและบริการของห้องสมุด
ห้องสมุด--การบริหาร
ห้องสมุด--การพัฒนาทรัพยากร
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 และ (2) แนวทางการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอปง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ประชากร ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอปง จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 33 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลของโรงเรียนแต่ละแห่ง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครูหรือบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์ 1 คน ครูผู้สอน 2 คน และผู้เรียน 2 คน รวมแห่งละ 6 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 198 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการให้ข้อมูลสัมภาษณ์ 7 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม เท่ากับ .84 .97 .95 และ .96 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณา ค่าเฉลี่ยโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ มาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานด้านผู้บริหารสถนศึกษา และมาตรฐานด้านอาคารสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ มาตรฐานด้านครูหรือบุคลากรที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ มาตรฐานด้านครูผู้สอนและมาตรฐานด้านทรัพยากรสารสนเทศ ตามลำดับ และ (2) แนวทางการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน พบว่า (2.1) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้กระบวนการวางแผนงานบริหารห้องสมุดโรงเรียนให้สอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา (2.2) ผู้บริหารสถานศึกษา ควรพิจารณาแต่งตั้งบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและต้องเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (2.3) สถานศึกษาควรใช้กลยุทธ์ในการส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน และดึงดูดให้ผู้เรียนมาใช้บริการของห้องสมุดโรงเรียน (2.4) สถานศึกษาควรมีการสร้างความร่วมมือกับบุคลากรในโรงเรียนและชุมชนภายนอกในการแสวงหาและรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศสำหรับห้องสมุดโรงเรียนและ (2.5) ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครูบรรณารักษ์ ครูผู้สอน บุคลากรในโรงเรียนตลอดจนนักเรียนผู้ปกครองและชุมชนต้องมีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกันในการสนับสนุนการพัฒนาอาคารสถานที่ วัสดุครุภัณฑ์ เพื่อให้มีพื้นที่ และบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยและมีวัสดุครุภัณฑ์ที่เพียงพอ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10730
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม28.83 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons