Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10735
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorบำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเพ็ญนภา โยธาศรี, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-07T08:00:16Z-
dc.date.available2023-12-07T08:00:16Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10735-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2) สภาพการผลิตข้าวและการได้รับการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 4) ความต้องการส่งเสริมการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2562/63 ในพื้นที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 20,990 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.08 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 156 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและแต่งงานแล้ว มีอายุเฉลี่ย 57.97 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 35.62 ปี มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.85 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 12.75 ไร่ มีรายได้ภาคการ เกษตรต่อครัวเรือนเฉลี่ย 42,307.69 บาทต่อปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 42,911.54 บาทต่อปี มีหนี้สินในภาคการเกษตรต่อครัวเรือนเฉลี่ง 55,869.57 บาท หนี้สินนอกภาคการเกษตรต่อครัวเรือนเฉลี่ย 71,200 บาท 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียว กข.6 ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 23.27 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ทำนา 2 ครั้งต่อปี ใช้น้ำจากน้ำฝนธรรมชาติและคลองชลประทาน ปริมาณผลผลิตข้าวเหนียวเฉลี่ย 409.42 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนในการปลูกข้าวเฉลี่ย 3,191.15 บาทต่อไร่ ได้รับการส่งเสริมแบบกลุ่มในภาพรวมระดับปานกลาง โดยวิธีการจัดฝึกอบรม 3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตข้าวโดยรวมในระดับมาก 4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการส่งเสริมด้านเนื้อหาความรู้ในระดับมากในประเด็นการทำการเกษตรสมัยใหม่, ความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการผลิตข้าว ความต้องการด้านการส่งเสริมเกษตรกรต้องการการส่งเสริมแบบกลุ่มในระดับมาก ความต้องการด้านการสนับสนุนในระดับมาก 5) เกษตรกรมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการผลิตข้าวในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัญหาขาดเงินทุนในการผลิต ปัญหาขาดการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ปัญหาความแปรปรวนของสภาพอากาศ ปัญหาปุ๋ยราคาแพง และปัญหาการส่งเสริมไม่ตรงกับความต้องการของเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่เสนอแนะในประเด็นให้มีการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรให้เพียงพอ และต้องการให้ทางภาครัฐช่วยควบคุมดูแลราคาข้าวไม่ให้ผันผวนมากเกินไป รวมทั้งตรวจสอบการรับซื้อข้าวของโรงสีและพ่อค้าคนกลางให้รับซื้อข้าวอย่างเป็นธรรมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectข้าว--การปลูก--ไทย--กาฬสินธุ์th_TH
dc.subjectข้าว--การควบคุมการผลิตth_TH
dc.subjectข้าว--การตลาดth_TH
dc.titleความต้องการส่งเสริมการผลิตข้าวของเกษตรกรอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์th_TH
dc.title.alternativeThe farmers’ need for rice production extension in Yang Talat District, Kalasin Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) the farmers’ social and economic conditions 2) rice production conditions and the receiving of agricultural extension of the farmers 3) rice production knowledge of the farmers 4) needs for extension in rice production of the farmers 5) problems and suggestions. The population in this study was 20,990 farmers in Yang Talat district, Kalasin province who had registered as farmers with the department of agricultural extension in 2019/20. The sample size of 156 persons was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.08 and simple random sampling method. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, and standard deviation. The results showed that 1) most of the farmers were married female with the average age of 57.97 years and completed primary education. Their main occupation was farming with the average number of years of experience in farming was 35.62 years. The average number of household labors was 2.85 persons. Most of them were members of the community enterprise. The average farm size was 12.75 rai. The average income from agricultural sector and non agricultural sector were 42,307.69 and 42,911.54 baht/year/household, respectively. The average liabilities from agricultural sector and non agricultural sector were 55,869.57 and 71,200 baht/year/household, respectively. 2) Most of the farmers grew RD 6 sticky rice variety with the average rice seed used at the rate of 23.27 kg/rai. Most of them planted rice twice a year using rainfed and irrigated rice cultivation methods. The average yield was 409.42 kg/rai and the average rice production cost was 3,191.15 baht/rai. In the overview, the farmers received group extension method in the form of group training at moderate level. 3) Most of the farmers knew and understood about rice production, overall, at high level. 4) The knowledge aspects that majority of the farmers needed at high level were modern agriculture, modern agricultural technology and rice production innovation. The farmers needed group extension method and support at high level. The problems about rice production faced by the farmers at moderate level were the lack of fund for production, the lack of support for input factors, weather variability, expensive fertilizer and the extension that did not meet the farmers’ requirement. Most of the farmers’ suggestions were sufficient water management for agriculture, the government should control rice price by not letting the price be so fluctuated and should monitor the rice mills and the middlemen whether they purchased rice at fair priceen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.01 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons