กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10735
ชื่อเรื่อง: ความต้องการส่งเสริมการผลิตข้าวของเกษตรกรอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The farmers’ need for rice production extension in Yang Talat District, Kalasin Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพ็ญนภา โยธาศรี, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าว--การปลูก--ไทย--กาฬสินธุ์
ข้าว--การควบคุมการผลิต
ข้าว--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2) สภาพการผลิตข้าวและการได้รับการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 4) ความต้องการส่งเสริมการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรปี 2562/63 ในพื้นที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 20,990 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.08 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 156 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและแต่งงานแล้ว มีอายุเฉลี่ย 57.97 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 35.62 ปี มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.85 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 12.75 ไร่ มีรายได้ภาคการ เกษตรต่อครัวเรือนเฉลี่ย 42,307.69 บาทต่อปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 42,911.54 บาทต่อปี มีหนี้สินในภาคการเกษตรต่อครัวเรือนเฉลี่ง 55,869.57 บาท หนี้สินนอกภาคการเกษตรต่อครัวเรือนเฉลี่ย 71,200 บาท 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียว กข.6 ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 23.27 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ทำนา 2 ครั้งต่อปี ใช้น้ำจากน้ำฝนธรรมชาติและคลองชลประทาน ปริมาณผลผลิตข้าวเหนียวเฉลี่ย 409.42 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนในการปลูกข้าวเฉลี่ย 3,191.15 บาทต่อไร่ ได้รับการส่งเสริมแบบกลุ่มในภาพรวมระดับปานกลาง โดยวิธีการจัดฝึกอบรม 3) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตข้าวโดยรวมในระดับมาก 4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการส่งเสริมด้านเนื้อหาความรู้ในระดับมากในประเด็นการทำการเกษตรสมัยใหม่, ความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการผลิตข้าว ความต้องการด้านการส่งเสริมเกษตรกรต้องการการส่งเสริมแบบกลุ่มในระดับมาก ความต้องการด้านการสนับสนุนในระดับมาก 5) เกษตรกรมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการผลิตข้าวในระดับปานกลาง ได้แก่ ปัญหาขาดเงินทุนในการผลิต ปัญหาขาดการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ปัญหาความแปรปรวนของสภาพอากาศ ปัญหาปุ๋ยราคาแพง และปัญหาการส่งเสริมไม่ตรงกับความต้องการของเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่เสนอแนะในประเด็นให้มีการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรให้เพียงพอ และต้องการให้ทางภาครัฐช่วยควบคุมดูแลราคาข้าวไม่ให้ผันผวนมากเกินไป รวมทั้งตรวจสอบการรับซื้อข้าวของโรงสีและพ่อค้าคนกลางให้รับซื้อข้าวอย่างเป็นธรรม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10735
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons