Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10738
Title: การจัดการการผลิตมะพร้าวนํ้าหอมแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
Other Titles: Aromatic coconut production panagement of collaborative farming of farmer in Ban Phaeo District, Samut Sakhon Province
Authors: จรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขนิษฐา ยินดี, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มะพร้าว--การปลูก
มะพร้าว--การผลิต
มะพร้าว--แง่เศรษฐกิจ
เกษตรกร--ไทย--สมุทรสาคร
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมแบบแปลงใหญ่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ในประเด็นต่อไปนี้ 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคม 2) การจัดการการผลิต 3) ความคิดเห็นของเกษตรกร และ 4) สภาพปัญหาและข้อเสนอของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมแบบแปลงใหญ่ อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ที่ขอจัดตั้งกลุ่มแปลงใหญ่กับสำนักงานเกษตรอำเภอ ปี 2559 - 2562 จำนวนทั้งหมด 102 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลจากประชากรทั้งหมดโดยโปรแกรมสำเร็จรูปด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชายและหญิงเท่ากัน ร้อยละ 50 อายุมากกว่า 60 ปี มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา ประสบการณ์ปลูกมะพร้าวน้ำหอมมากกว่า 20 ปี สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 ราย ทำการเกษตร 2 ราย มีการจ้างแรงงาน 1 ราย พื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 19.33 ไร่ เป็นของตนเอง มีรายได้จากการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเป็นหลัก ใช้เงินทุนตนเองในการผลิต ต้นทุนอยู่ที่ 1,000 - 5,000 บาท/ไร่ 2) เกษตรกรปลูกมะพร้าวน้ำหอมแบบยกร่อง ใช้น้ำจืดจากธรรมชาติ ไม่วิเคราะห์ดิน ขุดหลุมปลูกขนาด 0.5x0.5x0.5 เมตร ระยะปลูกขนาด 6x6 เมตร จำนวน 40.18 ต้น/ไร่ ปลูกช่วงเดือน พ.ค. - ส.ค. แบบแถวเดี่ยว มะพร้าวน้ำหอมที่ปลูกคือพันธุ์ก้นจีบ คัดพันธุ์จากแปลงที่น่าเชื่อถือในพื้นที่ ใช้ต้นพันธุ์อายุ 2-4 เดือน มีการวิเคราะห์น้ำ ให้น้ำโดยใช้เรือพ่น ให้น้ำหลังปลูก 1 วันเฉลี่ย 5.13 ครั้ง/เดือน ใส่ปุ๋ยเฉลี่ย 4.92 ครั้ง/ปี เฉลี่ย 28.5 กก./ไร่ โดยหว่านรอบทรงพุ่ม กำจัดวัชพืชเฉลี่ย 2.74 ครั้ง/ปี ด้วยวิธีผสมผสาน พบด้วงแรด กระรอก มีการลอกเลนปีละ 1 ครั้ง ไม่นิยมปลูกพืชแซม ไม่ใส่เกลือในแปลงเก็บผลผลิตหลังปลูก 3 ปี เก็บทุก 20 วัน ขายผลสดผ่านพ่อค้าคนกลาง พ่อค้าเป็นผู้เก็บเกี่ยวและกำหนดราคา ผลผลิต (ปี 2562) เฉลี่ย 29,362.75 ผล/ไร่ ราคาเฉลี่ย 16.24 บาท/ผล ไม่ทำสัญญาซื้อขายและไม่สมทบทุนเข้ากลุ่ม มีการบันทึกข้อมูลการผลิต เกษตรกรเข้าร่วมโครงการเพราะเจ้าหน้าที่รัฐให้การสนับสนุนให้คำแนะนำ เกษตรกรคาดหวังการรวมกลุ่มจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ 3) เกษตรกรมีความคิดเห็นต่อความสำคัญของโครงการแปลงใหญ่มะพร้าวน้ำหอม การพัฒนาแปลงใหญ่ ทั้ง 5 ด้าน คือลดต้นทุน, เพิ่มผลผลิต, พัฒนาคุณภาพ, บริหารจัดการกลุ่ม, การตลาดและการดำเนินงานของนักส่งเสริมการเกษตร พบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 4) ปัญหาที่พบ คือต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และการรวมกลุ่มเกษตรกรไม่เข้มแข็ง ควรให้เกษตรกรนำเทคโนโลยี นวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการลดต้นทุนการผลิต หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอย่างยั่งยืน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10738
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons