Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10747
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพรทิภา ธิวงศ์, 2509--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-08T02:17:26Z-
dc.date.available2023-12-08T02:17:26Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10747-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 2) พัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืด และ 3) เปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความพึงพอใจต่อรูปแบบการวางแผนจำหน่ายของผู้ดูแลระหว่างก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะศึกษาปัญหา มี 3 กลุ่ม (1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเด็ก 3 จำนวน 11 คน (2) ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืด จำนวน 5 คน และ (3) ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืดก่อนทดลองจำนวน 35 คน 2) ระยะการพัฒนา เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติในหอผู้ป่วยแห่งนี้ จำนวน 11 คน และ 3) ระยะทดลอง เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืดหลังทดลอง จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในระยะศึกษาและการทดลอง มีดังนี้ 1) ระยะศึกษาปัญหา และ 3) ระยะทดลอง ได้แก่ แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อรูปแบบการวางแผนจำหน่าย ผ่านการหาค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.95 และ 0.85 ตามลำดับ และ 2) เครื่องมือในการพัฒนา ได้แก่ รูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนาขึ้น และโครงการอบรมเรื่องการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติแมน-วิทนีย์ ยู ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการวางแผนจำหน่าย แบ่งเป็น 3 ด้าน (1) ด้านโครงสร้าง ได้แก่ โรงพยาบาลมีนโยบายการวางแผนจำหน่าย แต่ไม่มีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน เป็นการวางแผนจำหน่ายตามประสบการณ์ และขาดการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล (2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ ขาดการปฏิบัติที่เป็นระบบอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนมากจะให้คำแนะนำในวันจำหน่าย และ (3) ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ ไม่มีการติดตามและประเมินผลที่ชัดเจน 2) รูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนอย่างเป็นระบบตั้งแต่การประเมินปัญหาและความต้องการ การวางแผนจำหน่ายโดยผู้ดูแลมีส่วนร่วม การวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผลการวางแผนการจำหน่ายบูรณาการกับการใช้รูปแบบ D-METHOD กับการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการใช้แบบบันทึกการวางแผนจำหน่าย อุปกรณ์พ่นยา เอกสารการพ่นยาอย่างถูกวิธี และแผนการสอน 3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความพึงพอใจต่อรูปแบบการวางแผนการจำหน่ายของผู้ดูแลหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโรงพยาบาล--การรับและการจำหน่ายผู้ป่วย.th_TH
dc.subjectโรงพยาบาล--การบริหารth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์th_TH
dc.title.alternativeThe development of a discharge planning model for pediatric patients with asthma at Sumpasitthiprasong Hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research and development were: 1) to study problem situations of discharge planning for pediatric patients with asthma at Sunpasitthiprasong Hospital, 2) to develop a discharge planning model for pediatric patients with asthma, and 3) to compare perception on self-efficacy and satisfaction toward the discharge planning model of caregivers before and after developing the model. The samples whom were purposive sampling was divided into 3 phases. 1) Problem study period included 3 groups: (1) eleven professional nurses who worked for pediatric ward 3 and attended brain storming, (2) five caregivers of asthmatic children who were interviewed, and (3) thirty-five caregivers of asthmatic children before trial. 2) The model development phase comprised eleven professional nurses who worked for this unit. 3) The trial phase, the last step, contained thirty-five caregivers of asthmatic children after trial. The research tools consisted of caregivers’ perception on self-efficacy and satisfaction toward the discharge planning model. These tools were used in the problem study and trial stages with reliability of 0.95 and 0.85 respectively. In the development stage, the discharge planning model was applied in a training project. Data were analyzed by descriptive statistics and Mann-Whitney-U Test. The research findings were as follows. 1) Problems situations of discharge planning for pediatric patients with asthma revealed into 3 aspects including (1) structure - the hospital had the discharge planning policy but without clear guidelines, performed discharge planning by own experiences, and no caregiver’s cooperation. (2) A process of discharge planning was performed unsystematically and the advice was mostly done on a discharge day. (3) Outcome revealed that there were not clear follow-up and evaluation. 2) The developed discharge planning model embraced systematic steps. This procedure began with discharge planning problems and needs assessing through caregivers’ collaboration, planning, implementing, and evaluating.These were integrated with the D-METHOD format and an empowerment concept along with discharge planning charts, nebulize equipment and the manuscript, and a teaching plan. 3) The mean score of caregivers’ perception on self-efficacy and satisfaction toward the discharge planning model after development was significantly higher than before development at the level .05.en_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.87 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons