Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10747
Title: การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
Other Titles: The development of a discharge planning model for pediatric patients with asthma at Sumpasitthiprasong Hospital
Authors: อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรทิภา ธิวงศ์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาล--การรับและการจำหน่ายผู้ป่วย.
โรงพยาบาล--การบริหาร
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 2) พัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืด และ 3) เปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความพึงพอใจต่อรูปแบบการวางแผนจำหน่ายของผู้ดูแลระหว่างก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะศึกษาปัญหา มี 3 กลุ่ม (1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยเด็ก 3 จำนวน 11 คน (2) ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืด จำนวน 5 คน และ (3) ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืดก่อนทดลองจำนวน 35 คน 2) ระยะการพัฒนา เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติในหอผู้ป่วยแห่งนี้ จำนวน 11 คน และ 3) ระยะทดลอง เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืดหลังทดลอง จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในระยะศึกษาและการทดลอง มีดังนี้ 1) ระยะศึกษาปัญหา และ 3) ระยะทดลอง ได้แก่ แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อรูปแบบการวางแผนจำหน่าย ผ่านการหาค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.95 และ 0.85 ตามลำดับ และ 2) เครื่องมือในการพัฒนา ได้แก่ รูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนาขึ้น และโครงการอบรมเรื่องการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติแมน-วิทนีย์ ยู ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการวางแผนจำหน่าย แบ่งเป็น 3 ด้าน (1) ด้านโครงสร้าง ได้แก่ โรงพยาบาลมีนโยบายการวางแผนจำหน่าย แต่ไม่มีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน เป็นการวางแผนจำหน่ายตามประสบการณ์ และขาดการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล (2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ ขาดการปฏิบัติที่เป็นระบบอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนมากจะให้คำแนะนำในวันจำหน่าย และ (3) ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ ไม่มีการติดตามและประเมินผลที่ชัดเจน 2) รูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนอย่างเป็นระบบตั้งแต่การประเมินปัญหาและความต้องการ การวางแผนจำหน่ายโดยผู้ดูแลมีส่วนร่วม การวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผลการวางแผนการจำหน่ายบูรณาการกับการใช้รูปแบบ D-METHOD กับการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการใช้แบบบันทึกการวางแผนจำหน่าย อุปกรณ์พ่นยา เอกสารการพ่นยาอย่างถูกวิธี และแผนการสอน 3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความพึงพอใจต่อรูปแบบการวางแผนการจำหน่ายของผู้ดูแลหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10747
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.87 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons