Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10757
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีเพื่อประสานการดูแลจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วม
Other Titles: The development of a case management model for care collaboration from hospital to community for hypertension patients with coronary artery disease
Authors: สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพชรรัตน์ ทัดเทียม, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน --วิทยานิพนธ์
ความดันเลือดสูง--โรค--การดูแล
หลอดเลือดโคโรนารีย์--โรค
ผู้ป่วย--ความร่วมมือในการรักษา
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วม 2) พัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีเพื่อประสานการดูแลจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วม 3) ประเมินผลรูปแบบการจัดการรายกรณีเพื่อประสานการดูแลจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างแบ่งตามระยะการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมและผู้ดูแล จำนวน 22 คน ในอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นแพทย์และพยาบาลจำนวน 12 คน และระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วม จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แนวทางสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแล 2) แนวทางสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนารูปแบบฯ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .94 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค .82 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกชันไชน์แรงค์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและความต้องการการดูแลสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วม ได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ สังคม และ การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ 2) รูปแบบการจัดการรายกรณีเพื่อประสานการดูแลจากโรงพยาบาลสู่ชุมชนฯ ประกอบด้วย เป้าหมายการจัดการรายกรณีคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคหลอดเลือดหัวใจร่วมทุกราย โดยพยาบาลวิชาชีพจะทำหน้าที่แจ้งข้อมูลผู้ป่วยให้พยาบาลผู้จัดการรายกรณีเพื่อจัดลำดับความเร่งด่วนตามเกณฑ์ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีประวัติเจ็บเค้นหน้าอกและ/หรือควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ใช้ยาไม่ถูกต้อง อยู่บ้านคนเดียว อ่านหนังสือไม่ออก ผู้จัดการรายกรณีจะประเมินความต้องการการดูแลก่อนประสานงานทีมสหสาขาวิชาชีพ และส่งข้อมูลให้พยาบาลวิชาชีพในชุมชน เพื่อวางแผนการดูแล เยี่ยมบ้าน และประเมินผลร่วมกัน 3) หลังได้รับการจัดการรายกรณีตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการจัดการตนเองดีกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยของความดันเลือดแดงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่แตกต่างกับก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10757
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.9 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons