กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10761
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of behavioral modification program on drug adherence among uncontrolled hypertension patients, Na Wa district, Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
นภาเพ็ญ จันทขัมมา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทินณรงค์ เรทนู, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน --วิทยานิพนธ์
ความดันเลือด--โรค
ผู้ป่วย--ความร่วมมือในการรักษา
ผู้ป่วย--การปรับพฤติกรรม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) พฤติกรรมการรับประทานยา ความร่วมมือในการรับประทานยา และระดับความดันโลหิตของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังใช้โปรแกรมฯ 2) พฤติกรรมการรับประทานยา ความร่วมมือในการรับประทานยา และระดับความดันโลหิตหลังใช้โปรแกรมฯ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ อายุ 30-65 ปี จำนวน 60 คน ซึ่งได้จากการเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้าศึกษาจากผู้ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนศาลา อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เป็นกลุ่มทดลอง และจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวนกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่พัฒนาขึ้น โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนพฤติกรรมของโปรซาสกาและคณะ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มี 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการรับประทานยา และความร่วมมือในการรับประทานยา มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามส่วนที่ 2 และ 3 เท่ากับ .83 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติการทดสอบไคสแควร์ การทดสอบที่ชนิดอิสระและไม่อิสระ การทดสอบวิลคอกซันซายน์แรงค์ และสถิติการทดสอบแมนวิทนีย์ยู ผลการศึกษาพบว่า (1) หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการรับประทานยา ความร่วมมือในการรับประทานยาสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม และระดับความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการรับประทานยา ความร่วมมือในการรับประทานยาสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมีระดับความดันโลหิตต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10761
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons