Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10762
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorปรวัน จันทรังษี, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-08T03:59:44Z-
dc.date.available2023-12-08T03:59:44Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10762-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพัฒนาการของนโยบายการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พักภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย (2) ศึกษาประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พัก ภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พัก ภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย และ (4) เสนอแนะกลยุทธ์นโยบายเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พัก ภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางและการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิเคราะห์เชิงพัฒนาการนโยบาย ประชากร คือ ผู้ประกอบการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวทุกภูมิภาคจำนวน 9,556 แห่ง ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 117 แห่งโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามโดยใช้กับผู้ประกอบการที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว 2) แบบสัมภาษณ์ใช้กับเจ้าหน้าที่รัฐ จากหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง คือ กรมการท่องเที่ยว กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ซึ่งถือว่าเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยตรง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ทีเทส เอฟเทสและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) พัฒนาการของนโยบายแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรก พ.ศ. 2550-2554 เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมจูงใจให้เพิ่มผลิตภาพแรงงาน ช่วงที่สอง พ.ศ. 2555-2559 เน้นการปรับมาตรฐานฝีมือ/วิชาชีพรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ และช่วงที่สาม พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน เน้นการพัฒนาความสามารถแรงงานตามนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (2) ระดับประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พักภาคการท่องเที่ยวไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พักภาคการท่องเที่ยว คือ ปัจจัยด้านแรงงาน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม โดยมีความสามารถในการอธิบายประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติได้รวมร้อยละ 70.4 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 (4) กลยุทธ์ที่ควรนำมาใช้ ได้แก่ การปรับบทบาทภาครัฐให้เป็นผู้ควบคุมกระบวนการเพิ่มผลิตภาพและสนับสนุนพัฒนาผลิตภาพแรงงานระดับบุคคลและสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ควรทบทวนภารกิจ/โครงการ/กิจกรรมจากภาครัฐที่ดำเนินงานคล้ายกันเพื่อประหยัดงบประมาณ ลดขนาดภาครัฐ และให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียม ส่งเสริมการนำนโยบายการเพิ่มผลิตภาพแรงงานไปปฏิบัติตั้งแต่ระดับบุคคล อันส่งผลต่อสถานประกอบการและประเทศ ทบทวนการออกแบบโครงการ/กิจกรรมให้แรงงานทำงานหลากหลาย เนื่องจากมีความไม่แน่นอนของปัจจัยสภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี และควรให้ความสำคัญของการปรับบทบาทหน่วยงานรัฐเป็นผู้ควบคุมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพแรงงานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectนโยบายแรงงาน--ไทยth_TH
dc.subjectการบริหารแรงงานth_TH
dc.titleประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติในการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสาขาบริการที่พักภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThe effectiveness of policy implementation of labour productivity in accommodation services in tourism sectoren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed as follows: (1) to study policy development on labour productivity in accommodation services in tourism sector, (2) to study the effectiveness of policy implementation of labour productivity in accommodation services in tourism sector, (3) to analyze the factors effecting the effectiveness of policy implementation of labour productivity in accommodation services in tourism sector, and (4) to recommend government strategies on labour productivity in accommodation services in tourism sector. This study was a mixed-method research. It employed quantitative method by using cross-sectional survey study and qualitative method focusing on policy development analysis. The population were 9,556 accommodation entrepreneurs and the sample size was 117 purposive-selected entrepreneurs. Research instruments were (1) questionnaires collected from entrepreneurs, (2) and interviews with the key informants from Department of Tourism, Department of Skill Development, and Thailand Professional Qualification Institute (Public Organization). Statistical tools were average, percentage, t-test, f-test and stepwise multiple regression. Content analysis was used for qualitative data. The result showed that (1) There were 3 stages of policy development. In 2007 – 2011, the policy focused on building attractive labour productivity environment. In 2012- 2016, the policy focused on skill and professional standard qualification for international labour migration. In 2017 – present, the policy focused on labour competency as the target industry policy. (2) The effectiveness of labour productivity in accommodation services on tourism sector level was more than 80% at .05 level of significance. (3) Labour and environmental factors were a positive influence on labour productivity in accommodation services in tourism sector at 70.4% at .05 level of significance. (4) Recommended strategies were as follows: (1) to transform the government into regulator and facilitator in labour productivity policy for individual, small-sized and medium-sized accommodation enterprises, (2) to revise the duplicated projects/activities in order to reduce budget, reduce the size of government agencies and share the fair benefits, (3) to redesign projects/activities for building flexible workforce due to a risk of environmental and technology factor, and (4) to underline the importance of the government transformation into the regulator and the facilitator of labour productivity development.en_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม42.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons