Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10764
Title: | รูปแบบการจัดบริการสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยหอผู้ป่วยไอซียู โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | Model development for health-care services in response to the needs of the patient family members in the ICU of Surat Thani Hospital |
Authors: | บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา รัชนี นามจันทรา, อาจารย์ที่ปรึกษา พรพิมล ไพเมือง, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ ผู้ป่วยใน--บริการที่ได้รับ บริการสำหรับครอบครัว |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการบริการสุขภาพของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียู โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี (2) สร้างรูปแบบบริการสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วย และ (3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง มี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) สมาชิกครอบครัวสำหรับวิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการบริการสุขภาพของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียู ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลปริมาณ จำนวน 32 คน และ ผู้ให้ข้อมูลคุณภาพ จำนวน 20 คน และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ จำนวน 4 คน เครื่องมือวิจัย มี 2 ชุด ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์สภาพการณ์และความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียู ซึ่งเป็นของมอลเตอร์และเลสเก (1983) ที่ได้รับอนุญาตให้แปลเป็นภาษาไทยและนำมาใช้ และ 2)แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบบริการสุขภาพ ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.78 การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์และความต้องการการบริการสุขภาพของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียู พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับมากน้อยคือ ด้านความต้องการความเชื่อมั่น ด้านความต้องการข้อมูล ด้านความต้องการการสนับสนุน และด้านความต้องการความสบาย มีสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 7 องค์ประกอบ (1) การสื่อสารข้อมูลอย่างชัดเจน เป็นจริง และต่อเนื่อง (2) การให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับอุปกรณ์การบำบัดรักษา และประโยชน์ในการนำมาใช้ (3) การให้สมาชิกครอบครัวมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการดูแลอย่างใกล้ชิด (4) การให้การดูแล และเยียวยาสภาพจิตใจสมาชิกครอบครัว (5) การให้ได้รับรู้สิทธิต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และการติดต่อประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (6) การจัดสภาพแวดล้อม และจัดบริการให้เอื้ออำนวยต่อความต้องการของสมาชิกครอบครัว (7) การให้บริการการพยาบาลที่รวดเร็ว และมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย และ 3) ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดบริการสุขภาพตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยไอซียูที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม ร้อยละ 88.88 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล)--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10764 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 24.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License