กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10767
ชื่อเรื่อง: | ผลของรูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะที่ 3 ของอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of a model slowing the progression of patients with stage 3 chronic kidney disease at Noen Maprang District, Phitsanulok Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา สมโภช รติโอฬาร, อาจารย์ที่ปรึกษา ละอองดาว ทับอาจ, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน --วิทยานิพนธ์ ไต--โรค--การดูแล ไต--โรค--การป้องกันและควบคุม |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ การรับรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม อัตราการกรองของไต ระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังใช้รูปแบบฯ และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบในระยะหลังใช้รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 (อัตราการกรองของไต 30-59 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร) อายุ 30-70 ปี มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังยาง (กลุ่มทดลอง) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังโพรง (กลุ่มเปรียบเทียบ) อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ในการศึกษาโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นรูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดแบบจำลองพรีสีด-โพรสีด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม 5 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางคลินิก 2) ความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรัง 3) การรับรู้โอกาสเสี่ยงเกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง 4) การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน และ 5) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามส่วน 2, 3, 4 และ 5 เท่ากับ 0.715, 0.742, 0.832 และ 0.785 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบที สถิติวิลคอกซันซายน์แรงค์ และสถิติแมนวิทนีย์ยู ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีความรู้และการรับรู้โอกาสเสี่ยงเกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อมหลังใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซีสโตลิกและ ไดแอสโตลิกต่ำกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่การรับรู้ความรุนแรงของโรคไตเรื้อรัง อัตราการกรองของไตและระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองก่อนและหลังใช้รูปแบบฯ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังใช้รูปแบบฯ กลุ่มทดลองมีความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยงและการรับรู้ความรุนแรงเกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม และอัตราการกรองของไตสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซีสโตลิกและไดแอสโตลิกต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10767 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 33.3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License