Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10774
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมลดน้ำหนักโดยใช้หน่วยตวงอาหารในครัวเรือนต่อความรู้ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และภาวะโภชนาการของผู้ใหญ่ที่ภาวะน้ำหนักเกินที่มารับบริการในตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
Other Titles: Effectiveness of a weight loss program using household food measuring units on knowledge, food consumption behavior and nutritional status of overweight adults, receiving outpatient services at Sri Somdet Hospital, Roi Et Province
Authors: สำอาง สืบสมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
วศินา จันทรศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภิญญา สมญา, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ --วิทยานิพนธ์
ผู้ป่วย--โภชนาการ.
อาหารลดน้ำหนัก--รายการอาหาร
การลดความอ้วน
การกำหนดอาหาร
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบของผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกิน (2) เปรียบเทียบความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อการลดน้ำหนักก่อน และ หลังการใช้โปรแกรมลดน้ำหนักโดยใช้หน่วยตวงอาหารในครัวเรือน ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบของผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินและ (3) เปรียบเทียบภาวะโภชนาการก่อน และหลังการใช้โปรแกรมลดน้ำหนักโดยใช้หน่วยตวงอาหารในครัวเรือน ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบของผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินที่มารับบริการในตึกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ดการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง คือกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยให้โปรแกรมลดน้ำหนักที่ใช้หน่วยตวงอาหารในครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างจำนวนกลุ่มละ 42 คน สุ่มอย่างมีระบบจากประชากรที่เป็นผู้ใหญ่น้ำหนักเกินอายุ 25-45 ปี มารับบริการด้านสุขภาพจากโรงพยาบาลศรีสมเด็จ ประจำปี 2561จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นโปรแกรมลดน้ำหนักโดยใช้หน่วยตวงอาหารในครัวเรือน และแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ เจตคติในการลดน้ำหนัก แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณาและสถิติทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มทดลองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 39.05+5.43 ปี สถานภาพสมรส ศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร รายได้ต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาทมากที่สุด กลุ่มเปรียบเทียบเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 36.48+6.31 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง/ลูกจ้าง มีรายได้ต่อเดือน 5,001-10,000 บาท มากที่สุด (2) กลุ่มเปรียบเทียบมีความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริโคอาหารไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ (3) ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มก่อนการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีรอบเอวเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) แต่ดัชนีมวลกายไม่แตกต่างกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10774
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons