Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10785
Title: ความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กเพจ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 กรมประชาสัมพันธ์
Other Titles: Satisfaction with the communication strategies used on Facebook page of the Public Relations Department Zone 1 Office
Authors: ปิยฉัตร ล้อมชวการ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กมลรัฐ อินทรทัศน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชยชนก จันทวงษ์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร --วิทยานิพนธ์
กรมประชาสัมพันธ์--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
สื่อสังคมออนไลน์--การสื่อสาร
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กเพจ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 กรมประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับ 1) เนื้อหาการสื่อสาร 2) รูปแบบการสื่อสาร 3) วิธีการสื่อสาร และ 4) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อ เนื้อหา รูปแบบ และวิธีการสื่อสารตามลักษณะทางประชากร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ติดตามเฟซบุ๊กเพจ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 จำนวน 400 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจต่อเนื้อหาที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือเนื้อหาประเภทการท่องเที่ยว เช่น ข้อมูลการท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ รวมถึงประเพณีสำคัญๆ ในแต่ละจังหวัด 2) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการสื่อสารที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือ รูปแบบการสื่อสารที่ใช้วิธีการนำเสนอข้อเท็จจริง น่าเชื่อถือ เช่น ข้อมูลข่าวสารที่มีความถูกต้อง ชัดเจน เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ 3) ความพึงพอใจต่อวิธีการสื่อสารที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือ วิธีการสื่อสารที่นำเสนอข้อเท็จจริงที่มีความถี่ที่สม่ำเสมอประกอบการลงพื้นที่ และ 4) ผู้ที่มีภูมิลำเนา ระดับการศึกษาและอาชีพที่ต่างกันมีความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กเพจด้านเนื้อหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ผู้ที่มีอายุ ภูมิลำเนาและอาชีพที่ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กเพจด้านรูปแบบการสื่อสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ผู้ที่มีภูมิลำเนาที่ต่างกัน มีความพึงพอใจในกลยุทธ์การสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กเพจด้านวิธีการสื่อสาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.(การบูรณาการการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10785
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons