Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10814
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorนารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorกนกพร พงษ์พานิช, 2528--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-14T03:07:24Z-
dc.date.available2023-12-14T03:07:24Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10814-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร (3) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตข้าวของเกษตรกร ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ปีการเพาะปลูก 2561 จำนวน 2,083 ราย คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 246 ราย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ เกษตรกรทั่วไปที่ปลูกข้าว และเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่ สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรทั่วไปมีอายุเฉลี่ย 54.89 ปี และเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่มีอายุเฉลี่ย 60.63 ปี เกษตรกรมากกว่ากึ่งหนึ่งของทั้ง 2 กลุ่ม จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่ของทั้ง 2 กลุ่ม ผลิตข้าวเป็นอาชีพหลักและทำการผลิตข้าว 2 ครั้งต่อปี เกษตรกรทั่วไปมีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 20.14 ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 3,505.67 บาทต่อไร่ ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 14.07 ตัน รายได้เฉลี่ย 4,847.95 บาทต่อไร่ เกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 24.48 ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 3,148.40 บาทต่อไร่ ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 20.04 ตัน รายได้เฉลี่ย 5,928.42 บาทต่อไร่ (2) มากกว่าครึ่งของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตข้าวในระดับปานกลาง และมากกว่าสองในห้ามีความรู้ในระดับมาก (3) เกษตรกรทั่วไประบุว่าเทคโนโลยีการผลิตข้าวมีความยุ่งยากในระดับปานกลางและนำไปปฏิบัติในระดับมาก ส่วนเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่ระบุว่าเทคโนโลยีการผลิตข้าวมีความยุ่งยากในระดับน้อยและนำไปปฏิบัติในระดับมากที่สุด (4) เกษตรกรทั่วไปมีปัญหาเรื่องการแบ่งพื้นที่แปลงนาเป็นแปลงย่อย การซื้อเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีป้ายแสดงคุณภาพ ขาดการปลูกพืชบำรุงดิน และการทำความสะอาดเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าว ส่วนเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่มีปัญหาเรื่อง การไถดะเพื่อกำจัดข้าวเรื้อ การทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก การปลูกพืชบำรุงดิน และการทำความสะอาดเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าว ดังนั้น เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม จึงเสนอแนะให้ส่งเสริมการทำความสะอาดเครื่องมือเก็บเกี่ยวข้าว การแบ่งพื้นที่แปลงนาเป็นแปลงย่อย และการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง เมื่อเปรียบเทียบทางด้านต่าง ๆ พบว่า เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในเรื่อง อายุเกษตรกร ขนาดพื้นที่ทำนา ผลผลิตและราคาข้าว ต้นทุนและรายได้ ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ในการผลิตข้าวth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectข้าว--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสมth_TH
dc.subjectเทคโนโลยีการเกษตร--ไทยth_TH
dc.titleการนำเทคโนโลยีการผลิตข้าวไปปฏิบัติของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรีth_TH
dc.title.alternativeApplication into practice of rice production technology by farmers in Mueang District of Sing Buri Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe research objectives were to study and compare (1) socio-economic status of farmers, (2) farmers’ knowledge on rice production technology, (3) an adoption of rice production technology by farmers, and (4) problems and recommendations of farmers on rice production. The research population were 2,083 rice farmers in Mueang District, Sing Buri Province of the production year 2018. The sample size was determined by using Taro Yamane’s formula with an error of 0.05 consisting of 246 samples and divided into two groups such as general rice farmers and collaborative rice farm members. The number of samples was equally for both groups and selected by stratified sampling. Data were collected by using structural interview questionnaire and analyzed by using statistics such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation Chi-square test and t-test The study results showed that (1) an average age of general rice farmers and collaborative rice farm members were 54.89 and 60.63 years old. More than half of both groups completed primary education;. Most farmers in both groups produced rice as the main occupation and continued to produce rice twice a year. General rice farmers had an average farming area of 20.14 rai (1 rai = 1,600 square meters); an average cost of rice production was 3,505.67 baht per rai; an average rice yield product was 14.07 tons; and an average income was 4,847.95 baht per rai. The collaborative rice farm members had an average farming area of 24.48 rai; an average rice production cost was 3,148.40 baht per rai; an average rice yield was 20.04 tons; and an average income was 5,928.42 baht per rai. (2) More than half of both farmer groups had knowledge of rice production technology at a moderate level and more than two-fifths had knowledge at a high level. (3) The general rice farmers stated that rice production technology was difficult at a moderate level and could be implemented at a high level, while collaborative rice farm members rated at a low level of difficulty and implemented at the highest level. (4) The general rice farmers had problems such as dividing rice plot into small plots, seed purchase without a quality label, lack of cover crop, cleaning combine harvester, trucks and rice containers. The collaborative rice farm members had problems of tillage, seed germination testing before planting, lack of cover crop, and cleaning combine harvester. Therefore, it was recommended to promote the cleaning of rice harvester, dividing the area of rice plot into sub plots, and keeping of rice seeds for internal use. Furthermore there were statistical significant differences at 0.05 level between two groups on age of farmer, size of rice field, amount of produce and price, cost and return, and the various problems of rice productionen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons