Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10816
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | ธำรงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.author | จารุณี พงษ์พิยเดช, 2508- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-12-14T03:19:29Z | - |
dc.date.available | 2023-12-14T03:19:29Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10816 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในตำบลคลองม่วง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาที่ประสบความสำเร็จในการผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ 3) การจัดการการผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ 4) ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยอุปสรรคในการจัดการการผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือเกษตรกรในตำบลคลองม่วง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่ประสบความสำเร็จในการปลูกทุเรียนทดแทนพืชไร่ จำนวน 3 ราย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมเอกสารและข้อมูลภาคสนามที่ได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วิเคราะห์เนื้อหาตามรูปแบบของการวิเคราะห์อุปนัยและนำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรทั้งหมดเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 35-66 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษาถึงปริญญาโท เกษตรกรทุกรายมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนจำนวน 20 ไร่ ประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนระหว่าง 8-17 ปี มี 2 รายทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก และอีก 1 รายรับราชการพร้อมกับทำสวนทุเรียนด้วย 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ของเกษตรกร คือ ราคาผลผลิตพืชไร่ตกต่ำไม่คุ้มค่ากับการลงทุน สภาพพื้นที่สามารถปลูกทุเรียนได้ มีอุปกรณ์และเครื่องมือทางการเกษตรพร้อมใช้งาน กำหนดราคาขายได้ ที่ตั้งของสวนมีการคมนาคมสะดวก 3) การจัดการการผลิตทุเรียน พบว่า มีการจัดการการผลิตทุเรียนทั้งตามหลักวิชาการและอาศัยประสบการณ์ที่เคยปลูกไม้ผลชนิดอื่น ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากเอกสาร ตำรา สื่อต่างๆ และดูงานจากสวนที่ประสบความสำเร็จ ทำให้ผลผลิตทุเรียนที่ได้มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค 4) ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยอุปสรรคในการจัดการการผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ของเกษตรกร ปัจจัยส่งเสริม พบว่า ราคาทุเรียนที่ขายได้สูงกว่าราคาพืชไร่ มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรพร้อมใช้งาน สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากนัก มีเงินทุนเพียงพอ มีตลาดรองรับ ปัจจัยอุปสรรค พบว่า เกษตรกรจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพราะการปลูกทุเรียนมีขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างจากการปลูกพืชไร่ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | ทุเรียน--การปลูก | th_TH |
dc.title | การจัดการการผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ของเกษตรกรในตำบลคลองม่วงอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา | th_TH |
dc.title.alternative | Durian production management substitute for field crops by farmers at Khlong Muang Sub-district, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study 1) the socio-economic status of farmers in Khlong Muang Sub-district, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province who successfully produced durian as a substitute for field crops; 2) factors that influenced the farmers’ decisions to switch to producing durian instead of field corps; 3) the farmers’ management of durian production; and 4) enhancing factors and obstacle factors influencing the switch from field crops to durian production. This research was a qualitative research. Key informants were 3 farmers in Khlong Muang Sub-district, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province who successfully produced durian as a substitute for field crops. Data were collected by observation and in-depth interviews with the 3 farmers and content was then analysed using inductive analysis. The results were as follows 1) all of the farmers were males with the age between 35 and 66 years old. Their educational level varied from primary education level to master degree level. Each farmer had 20 rais (1 rai = 1,600 m2) of durian orchard with 8-17 years of experience in durian production. Two informants were full time farmers while one informant was a government officer as well as a durian grower. 2) Factors that influenced their decisions to produce durian instead of field corps were that the selling price of field crops was lower than the production cost, the land was suitable for durian planting, they already owned the needed agricultural tools and equipment, they were able to set the price of durian by themselves and their farms were at a convenient location. 3) The farmers applied both accepted principles of durian production and personal experiences from growing other fruit trees for planting and tending the durian orchards. Good quality durian was the result of the farmers consulting textbooks, other documents and media as well as visiting successful farms. 4) Enhancing factors were the selling price of durian was higher than those of field crops; the farmers already had agricultural tools and equipment so there was no need to invest more, and they also had enough budget and market support. The only obstacle factor was the special techniques of durian production that differed from field crop production and forced farmers to seek more knowledge | en_US |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License