กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10816
ชื่อเรื่อง: | การจัดการการผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ของเกษตรกรในตำบลคลองม่วงอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Durian production management substitute for field crops by farmers at Khlong Muang Sub-district, Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา ธำรงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษา จารุณี พงษ์พิยเดช, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ทุเรียน--การปลูก |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในตำบลคลองม่วง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาที่ประสบความสำเร็จในการผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ 3) การจัดการการผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ 4) ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยอุปสรรคในการจัดการการผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือเกษตรกรในตำบลคลองม่วง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่ประสบความสำเร็จในการปลูกทุเรียนทดแทนพืชไร่ จำนวน 3 ราย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมเอกสารและข้อมูลภาคสนามที่ได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วิเคราะห์เนื้อหาตามรูปแบบของการวิเคราะห์อุปนัยและนำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรทั้งหมดเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 35-66 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษาถึงปริญญาโท เกษตรกรทุกรายมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนจำนวน 20 ไร่ ประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนระหว่าง 8-17 ปี มี 2 รายทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก และอีก 1 รายรับราชการพร้อมกับทำสวนทุเรียนด้วย 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ของเกษตรกร คือ ราคาผลผลิตพืชไร่ตกต่ำไม่คุ้มค่ากับการลงทุน สภาพพื้นที่สามารถปลูกทุเรียนได้ มีอุปกรณ์และเครื่องมือทางการเกษตรพร้อมใช้งาน กำหนดราคาขายได้ ที่ตั้งของสวนมีการคมนาคมสะดวก 3) การจัดการการผลิตทุเรียน พบว่า มีการจัดการการผลิตทุเรียนทั้งตามหลักวิชาการและอาศัยประสบการณ์ที่เคยปลูกไม้ผลชนิดอื่น ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากเอกสาร ตำรา สื่อต่างๆ และดูงานจากสวนที่ประสบความสำเร็จ ทำให้ผลผลิตทุเรียนที่ได้มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค 4) ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยอุปสรรคในการจัดการการผลิตทุเรียนทดแทนพืชไร่ของเกษตรกร ปัจจัยส่งเสริม พบว่า ราคาทุเรียนที่ขายได้สูงกว่าราคาพืชไร่ มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรพร้อมใช้งาน สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากนัก มีเงินทุนเพียงพอ มีตลาดรองรับ ปัจจัยอุปสรรค พบว่า เกษตรกรจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพราะการปลูกทุเรียนมีขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างจากการปลูกพืชไร่ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10816 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License