กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10817
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines for attractions of agri-tourism in Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฉัทพร เหมราสวัสดิ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ศึกษากับนักท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว (3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและความต้องการการส่งเสริม (4) ปัญหาและ ข้อเสนอแนะ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (5) แนวทางการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรผลการวิจัย พบว่า (1) ร้อยละ 53.1 เป็นเพศชาข อายุเฉลี่ย 31.62 ปี ร้อยละ 71.4 จบปริญญาตรี ร้อยละ 80.1 โสด ร้อยละ 50.0 เป็นพนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ย 23,708.16 บาท ร้อยละ 83.7 อยู่ภาคกลาง (2) นักท่องเที่ยว ร้อยละ 52 ตัดสินใจท่องเที่ยวจากสื่อโฆษณาร้อยละ 66.8 มาพักผ่อนหย่อนใจ ร้อยละ 93.4 ชอบการถ่ายภาพ ร้อยละ 50.5 เดินทางกับเพื่อน ร้อยละ 59.2 เดินทางด้วยรถยนต์ ร้อยละ 63. 3 เที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ร้อยละ 63.3 ชอบแหล่งเที่ยวเชิงธรรมชาติ ร้อยละ 74.0 เคยท่องเที่ยวเชิงเกษตร ร้อยละ 93.4 ให้ความสนใจเรื่องวิวทิวทัศน์ ร้อยละ 51.5 รู้จักแหล่งท่องเที่ยวนี้จากสื่อออนไลน์ ร้อยละ 95.4 ไม่ทราบว่าเป็น 1 ใน 5 แหล่งท่องเที่ยวต้องชม ร้อยละ 76.5 เคยมาครั้งแรก ร้อยละ 15.3 เคยมาท่องเที่ยวที่สวนบิ๊กเต้ มีค่าใช้ง่ายเฉลี่ยครั้งละ 1,550.51 บาท (3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีดังนี้ ด้านการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ด้านการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ด้านการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และด้านการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อยู่ในระดับมาก (4) ร้อยละ 71.9 มีปัญหาการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและเครือข่าย รองลงมา ร้อยละ 54.3 มีปัญหาการเชื่อมโยงกันของแหล่งท่องเที่ยวและไม่มีร้านอาหารให้บริการ ดังนั้นควรมีเพื่อบริการกับนักท่องเที่ยว รวมทั้งการสร้างจุดเด่นที่น่าสนใจ เชื่อมโยงกับเครือข่าย พร้อมทั้งจัดงานประชาสัมพันธ์โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ทั้งระดับภูมิภาค หรือในระดับประเทศ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10817
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons