Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10821
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorณัฐธิดา วอนยิ้มสกุล, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-14T03:49:38Z-
dc.date.available2023-12-14T03:49:38Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10821-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร (3) การได้รับข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตยางพาราคุณภาพ (4) การปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตยางพาราคุณภาพและตลาดยางพารา และ (5) ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตยางพาราคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ได้รับการส่งเสริมปลูกแทนในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1,985 ราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ 333 ราย โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ใช้ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรเป็นเพศหญิงร้อยละ 57.0 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้ทั้งหมดจากภาคการเกษตร คือ 300,001-400,000 บาท รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตยางพารา คือ 100,001-200,000 บาท รายจ่ายค่าแรงงานและค่าปัจจัยการผลิตยางพารา 100,001-200,000 บาท (2) สภาพพื้นที่ของสวนยางพารา ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ เคยปลูกยางพาราร่วมกับการทำเกษตรแบบผสมผสาน แหล่งน้ำที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นลำธาร/คลองธรรมชาติ เป็นดินร่วน ใช้พันธุ์ยาง RRIM 600 การเตรียมพื้นที่โดยการตัดโค่น ไถ พรวน และไม่ปลูกพืชคลุมดิน (3) การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตยางคุณภาพจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของการยางแห่งประเทศไทย (4) เกษตรกรเริ่มเปิดกรีดมีขนาดเส้นรอบต้นไม่ต่ำกว่า 50 ซม. ที่ระดับความสูง 150 ซม. การเลือกพันธุ์ยางขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ปริมาณผลผลิต และความต้านทานต่อโรค/ลม ลักษณะดินที่เหมาะกับการปลูกยาง ได้แก่ ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย และ (5) ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตยางคุณภาพ ตั้งแต่การปลูก การคัดเลือกพันธุ์ยาง การใช้ปุ๋ย การปลูกพืชคลุมดิน การกำจัดวัชพืช การตัดแต่งกิ่ง การจัดการโรคและแมลง การจัดการผลผลิตยางในรูปแบบต่าง ๆ และการตลาดยางพาราth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectยางพารา--การผลิตth_TH
dc.titleการผลิตยางพาราคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีth_TH
dc.title.alternativeProduction of quality para rubber by farmers in Kanchanadit District of Surat Thani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) basic personal and socio-economic conditions of farmers, (2) the situations of para rubber production by farmers, (3) the farmers’ access to information on quality para rubber production, (4) farmers’ practice in quality para rubber production and marketing, and (5) farmers’ problems and needs for an extension of quality para rubber production. The population in this research were 1,985 farmers who had para rubber plantation under the extension of para rubber substitution in Kanchanadit District, Surat Thani Province. The samples were determined by Taro Yamane’s formula with an error of 0.05 accounting of 333 farmers. The data were collected by a structural interview questionnaire. Statistics used were frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, and standard deviation. The results showed that (1) 57% of the farmers were female and finished primary education. The majority of farmers had total farm income, para rubber income, and labor and production input costs of 300,001- 400,000 baht, 100,001-200,000 baht, and 100,001-200,000 baht respectively. (2) The majority of para rubber plantation area was in the plain area and mixed farming with natural canals, and sandy roam soil type. Most of them used RRIM 600 variety, cleared-cut area preparation, soil tillage, and no cover crops. (3) They received information on quality para rubber production from the agricultural extension workers of Rubber Authority of Thailand. (4) They started to perform rubber tapping when the trees had 50 centimeter circumferences and 150 centimeter height. The variety selection was based on land area, yield, and disease/wind resistance. The proper soil for rubber plantation was roam or sandy roam soil. (5) Planting, variety selection, fertilizer utilization, soil cover crop, weed control, branch trimming, disease and insect management, various types of rubber produce, and marketing were the existing problems and needed to be informed and supported furtheren_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons