กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10821
ชื่อเรื่อง: การผลิตยางพาราคุณภาพของเกษตรกรในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Production of quality para rubber by farmers in Kanchanadit District of Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐธิดา วอนยิ้มสกุล, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ยางพารา--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร (3) การได้รับข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตยางพาราคุณภาพ (4) การปฏิบัติของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตยางพาราคุณภาพและตลาดยางพารา และ (5) ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตยางพาราคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ได้รับการส่งเสริมปลูกแทนในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1,985 ราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ 333 ราย โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ใช้ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรเป็นเพศหญิงร้อยละ 57.0 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่มีรายได้ทั้งหมดจากภาคการเกษตร คือ 300,001-400,000 บาท รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตยางพารา คือ 100,001-200,000 บาท รายจ่ายค่าแรงงานและค่าปัจจัยการผลิตยางพารา 100,001-200,000 บาท (2) สภาพพื้นที่ของสวนยางพารา ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ เคยปลูกยางพาราร่วมกับการทำเกษตรแบบผสมผสาน แหล่งน้ำที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นลำธาร/คลองธรรมชาติ เป็นดินร่วน ใช้พันธุ์ยาง RRIM 600 การเตรียมพื้นที่โดยการตัดโค่น ไถ พรวน และไม่ปลูกพืชคลุมดิน (3) การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตยางคุณภาพจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของการยางแห่งประเทศไทย (4) เกษตรกรเริ่มเปิดกรีดมีขนาดเส้นรอบต้นไม่ต่ำกว่า 50 ซม. ที่ระดับความสูง 150 ซม. การเลือกพันธุ์ยางขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ปริมาณผลผลิต และความต้านทานต่อโรค/ลม ลักษณะดินที่เหมาะกับการปลูกยาง ได้แก่ ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย และ (5) ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตยางคุณภาพ ตั้งแต่การปลูก การคัดเลือกพันธุ์ยาง การใช้ปุ๋ย การปลูกพืชคลุมดิน การกำจัดวัชพืช การตัดแต่งกิ่ง การจัดการโรคและแมลง การจัดการผลผลิตยางในรูปแบบต่าง ๆ และการตลาดยางพารา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10821
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons