Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10827
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorนันท์นภัส แลวงศ์นิล, 2522--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-14T04:20:01Z-
dc.date.available2023-12-14T04:20:01Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10827-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.(บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานของเทศบาลในจังหวัดแพร่ (2) เปรียบเทียบระดับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานของแต่ละเทศบาลในจังหวัดแพร่ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานของเทศบาลในจังหวัดแพร่ และ (4) เสนอแนะแนวทางการบริหารงานของเทศบาลให้มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นต่อไป การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ พนักงานเทศบาลในจังหวัดแพร่ 25 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น 661 คน ผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดแพร่ 25 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างพนักงานด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 250 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และกำหนดตัวอย่างผู้บริหารท้องถิ่นได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารของเทศบาลในจังหวัดแพร่ มีระดับไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) ระดับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานของแต่ละเทศบาลในจังหวัดแพร่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ปัจจัยด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ปัจจัยด้านการบริหารเชิงยุทธศาสตร์และปัจจัยด้านการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานของเทศบาลในจังหวัดแพร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ข้อเสนอแนะที่เป็นแนวทางการบริหารงานของเทศบาลให้มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น คือควรนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ควรมีการมอบอำนาจและกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจตามอำนาจหน้าที่และความเหมาะสม ควรเน้นการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้วยการปลูกจิตสำนึกให้พนักงานรักองค์การ และควรกำหนดตัวชี้วัดการใช้ทรัพยากรมาประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคล และควรให้ความสำคัญในการประเมินสภาพแวดล้อมให้ชัดเจนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectเทศบาล--ไทย--แพร่--การบริหารth_TH
dc.subjectการบริหารรัฐกิจ--ไทยth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานของเทศบาลในจังหวัดแพร่th_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the achievement of municipalities administration in Phrae Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study were (1) to investigate the administrative achievement of the municipalities in Phrae Province, (2) to compare the managerial achievement of different municipalities in Phrae Province, (3) to study the factors affecting the managerial achievement of municipalities in Phrae Province and (4) to provide the suggestions of municipalities administration in Phrae Province for higher achievement. This study was survey research. The population included 661 officials in 25 Municipality offices and 25 and 25 Mayor under Town Municipality and Subdistrict Municipality. The sample consisted of 250 municipal officials and 3 local administrators. The sample size was determined based on Yamane's formula. The research instruments were questionnaires and interview forms. Data were analyzed using statistics, including frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression. The results of this research indicated that (1) the level of administrative achievement of municipalities in Phrae Province was not less than 80 percent with a statistical significance level, (2) the municipalities level in Phrae Province had different of administrative achievement with a statistical significance level, (3) good governance, strategic management, and result-based management were three factors affecting the administrative achievement of municipalities in Phrae Province with a statistical significance level of .05, and (4) the suggestions for higher managerial achievement as follows: good governance principles should be strictly and consistently implemented in administration; authority and responsibility should be assigned for decision-making based on suitable authority and duty; result-based management should be emphasized by raising awareness of organizational engagement among officials; indicators should be identified to measure resource utilization in order to evaluate the official performance at an individual level; and lastly environmental assessment should be conducted in a clarified manner.en_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม38.42 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons