กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10833
ชื่อเรื่อง: การใช้น้ำหมักชีวภาพในแปลงนาข้าวของเกษตรกรในอำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An application of bio-extract in rice field by farmers in Bang Pakong District, Chachoengsao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต
สุชาดา เล็กชอุ่ม, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--ฉะเชิงเทรา
น้ำหมักชีวภาพ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจ สภาพการผลิตข้าว การดำเนินการผลิตข้าว การเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าว ปัญหาและความต้องการขงเกษตรกรในการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพตามระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 97 ราย ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 52.3 ปี ส่วนใหญ่จบประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรื่อนเฉลี่ย 3.9 คน รายได้รวมเฉลี่ย 198,350.50 บาทต่อปี รายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 150,412.40 บาทต่อปี ไม่มีรายรับนอกภาคเกษตร รายจ่ายภาคเกษตรเฉลี่ย 87,061.90 บาทต่อปี ประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 23.3 ปี เกษตรกรมีการปฏิบัติตามแนวทางระบบการส่งเสริมการเกษตร การใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าว เกษตรกรมีการปฏิบัติตามแนวทาง ทำให้มีผลผลิตหลังเข้าร่วมมากกว่าก่อนเข้าร่วมการส่งเสริมฯ เกษตรกรมีปัญหาด้านการผลิตอยู่ในระดับปานกลาง ความรู้มีปัญหาอยู่ในระดับน้อยเกษตรกรมีความต้องการด้านการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพ วิธีการส่งเสริมเกษตรกร และการสนับสนุนการลิตข้าวคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10833
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons