Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10834
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorนารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุทธินี นาคสูตร, 2532--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-12-14T06:47:14Z-
dc.date.available2023-12-14T06:47:14Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10834-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการใช้สารสกัดพืชสมุนไพร ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชของเกษตรกร (3) ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้สารสกัดพืชสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชของเกษตรกร และ (4) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการใช้สารสกัดพืชสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชของเกษตรกร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่มีการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอเนินขาม ปี 2561 จำนวน 1,046 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง 171 ราย ใช้วิธีการสุ่มแบบง่ายด้วยการจับสลากตามรายชื่อเกษตรกรตามสัดส่วนของเกษตรกรในแต่ละตำบล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกร ร้อยละ 58.5 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.44 ปี ร้อยละ 48.0 จบประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.67 คน มีแรงงานด้านการเกษตร เฉลี่ย 1.96 คน มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 30.13 ปี รับข้อมูลข่าวสารจากเพื่อนบ้าน ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกษตร เฉลี่ย 3.58 ครั้งต่อปี เคยเข้ารับการฝึกอบรมที่ผ่านมาเฉลี่ย 3.32 ครั้ง มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 29.33 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 663.45 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้จากการปลูกข้าวเฉลี่ย 5,226.02 บาทต่อไร่ ต้นทุนที่ใช้ในการปลูกข้าว เฉลี่ย 2,489.23 บาทต่อไร่ (2) เกษตรกรร้อยละ 54.3 ได้รับข้อมูลการใช้สารสกัดพืชสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชจากการฝึกอบรม ร้อยละ 35.4 ใช้สารสกัดจากยาสูบ ร้อยละ 55.0 ปลูกพืชสมุนไพรไว้ใช้เอง ร้อยละ 84.8 ซื้อสมุนไพรมาใช้ร้อยละ 95.9 ใช้สารสกัดพืชสมุนไพรเพื่อขับไล่ศัตรูพืช ร้อยละ 70.8 พบการระบาดของหนอนกอ ร้อยละ 56.7 ติดสารสกัดพืชสมุนไพร ช่วงเช้าเวลา 05.00-08.00 น. และร้อยละ 70.8 เห็นว่าการใช้สารสกัดพืชสมุนไพรมีประสิทธิภาพดี (3) เกษตรกรมีปัญหาด้านการส่งเสริมการใช้สารสกัดพืชสมุนไพรในระดับมาก มีปัญหาด้านวิธีการส่งเสริมการใช้สารสกัดพืชสมุนไพรในระดับปานกลาง และ (4) เกษตรกรมีความต้องการด้านวิธีการส่งเสริมในระดับมาก และด้านการส่งเสริมการใช้สารสกัดพืชสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูในระดับมาก เกษตรกรเห็นด้วยกับแนวทางการส่งเสริมการใช้สารสกัดพืชสมุนไพรในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ด้านวิธีการส่งเสริม ในระดับมากที่สุด และด้านการส่งเสริมการใช้สารสกัดพืชสมุนในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช ในระดับมากที่สุดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectยากำจัดศัตรูพืชจากพืชth_TH
dc.subjectข้าว--โรคและศัตรูพืช--การควบคุม--ไทย--ชัยนาทth_TH
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการใช้สารสกัดพืชสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาทth_TH
dc.title.alternativeExtension guidelines for using herbal extracts to prevent and control insect pests of rice farmers in Noen Kham District, Chai Nat Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) social and economic conditions of farmers, (2) conditions of using herbal extracts to prevention and control insect pests of farmers, (3) problems regarding the usage of herbal extracts extension to prevent and control insect pests of farmer, and (4) the needs and extension guidelines for using herbal extracts to prevent and control insect pests of farmers. This study was a survey research. The population was 1,046 annual rice farmers who registered with Noen Kham Agricultural District Office year 2018. The sample size of 171 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.07 and selected by simple random sampling method by using lottery with farmers’ names written on them per proportion of each sub-district. Data was collected through conducting interview. Statistics used were frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking. The results showed that (1) 58.5% of farmers were male with the average age of 54.44 years. 44.8% of them completed primary school education with the average household members of 3.67 persons. Their average agricultural labors were 1.96 persons with the average experience in rice production of 30.13 years. They received information and knowledge from neighbors and made a contact with agricultural officers on the average of 3.58 times/year. The average number of training was 3.32 times. The average planting area was 29.83 rai, while the average yield was 663.45 kilograms/rai/year. The average income was 5,726.02 baht/rai and average cost of production was 2,489.23 baht/rai. (2) 64.3% of farmers received information about the use of herbal extracts to the protection and control of insect pests from trainings. 85.4% used the extracts of tobacco. 55.0% grew herbs for personal use but 84.8% bought them. 95.9% used herbal extracts to prevent insect pests. 70.8% found the pandemic of rice stem borers. 56.7% sprayed the extracts in the morning from 05.00-08.00 am. 70.8% of farmers accepted that extracts yield effective results. (3) The problem of herbal extract extension was at the high level. The problem of extension method of the herbal extract usage was at the moderate level. (4) The method extension was needed at the high level; the extension on the usage of herbal extracts to prevent and control insect pests was needed at the high level. The extension guidelines for herbal extracts in the prevention and control of insect pests on the extension method was agreed at the highest level whereas the extension usage of herbal extracts to prevent and control insect pests was agreed at the highest levelen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons