กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10847
ชื่อเรื่อง: การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปราม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Performance of suppression division officials of the Department of National Parks, Wildlife and Plants Conservation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดุสิต เวชกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัยวัฒน์ คงสม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกียรติศักดิ์ วังวล, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เจ้าหน้าที่ป่าไม้--ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ 2) ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปราม 3) ผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ 4) ผลความพึงพอใจ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน และ 5) การเปรียบเทียบความพึงพอใจตามปัจจัยส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปราม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กลุ่มที่ให้ข้อมูลมีจำนวน 182 คน โดยเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ส่วนยุทธการด้านป้องกันและปราบปราม สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 โดยกลุ่มที่เป็นข้าราชการเป็นการศึกษาจากประชากรทั้งหมด จำนวน 35 คน ส่วนกลุ่มที่เป็นลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 147 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45.88 ปี จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) สมรสแล้วและอยู่ด้วยกัน มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 18,633.77 บาท เป็นพนักงานราชการ และปฏิบัติงานภาคสนาม มีอายุราชการเฉลี่ย 13.23 ปี โดยมีระยะเวลาปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามเฉลี่ย 13.24 ปี ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคเหนือ มีภาวะหนี้สินเคยได้รับการฝึกอบรมด้านการป้องกันและปราบปราม และไม่เคยได้รับความดีความชอบ ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรค และไม่มีอาชีพเสริมระหว่างทำงาน 2) ด้านความรู้ของเจ้าหน้าที่พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านผลการปฏิบัติงานพบว่า เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการลาดตระเวนตรวจปราบปรามมากที่สุด 4) ด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับแนวทางการปรับปรุงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรเร่งปรับปรุงสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ และค่าตอบแทนให้เหมาะสม ควรฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกฎหมาย และปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน ควรมีการจัดสรรงบประมาณ อัตรากำลัง อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมเพียงพอ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม ควรพิจารณาความดีความชอบอย่างโปร่งใสเป็นธรรม รวมทั้งควรพิจารณาโยกย้ายสับเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ป่าไม้ไปปฏิบัติงานในลักษณะงานด้านอื่นๆ เพื่อให้ได้เรียนรู้ลักษณะงานใหม่ ๆ ที่อาจเป็นการกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน 5) ปัจจัยด้านภูมิลำเนา และลักษณะงานที่ปฏิบัติ มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10847
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons