กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10851
ชื่อเรื่อง: การจัดการผลิตยางพาราของเกษตรกรตำบลลาดกระทิงอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Para rubber production management by farmers in Latkrating Sub-district, Sanam Chai Khet District, Chachoengsao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรรยา สิงห์คา, อาจารย์ที่ปรึกษา
พยนต์ แสงเทศ, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ยางพารา--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม แรงจูงใจ ความรู้เกี่ยวกับยางพารา วิธีปฏิบัติในการผลิตยางพารา ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการการผลิตยางพาราของเกษตรกร การวิจัยเชิงสำรวจ ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 40-49 ปี สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5 คน อาชีพเดิมก่อนปลูกยางพาราคือทำไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ทำสวนยางพารามาก่อน มีแหล่งรับซื้อผลผลิตใกล้สวนยางพารา และมีแหล่งความรู้การผลิตยางและดูแลรักษาสวนยางใกล้บ้านเป็นแรงจูงใจมากที่สุด เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับยางพาราโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เกษตรกรมีการปฏิบัติในการผลิตยางพาราโดยรวมอยู่ในระดับมาก เกษตรกรมีปัญหาเรื่องปุ๋ยเคมีราคาแพง และราคาผลผลิตไม่แน่นอน และมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐควบคุมราคาปุ๋ยเคมีและราคารับซื้อผลิตยาง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10851
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons