Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10863
Title: การใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาศิลปะและการออกแบบมหาวิทยาลัยศิลปากร
Other Titles: Information use for study and research of the graduate students in Art and Design, Silpakorn University
Authors: ทัศนา หาญพล
ณัฐดินี ชมภูเอี่ยม, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เอกชาติ จันอุไรรัตน์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
สารสนเทศ--การศึกษาการใช้
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สารสนเทศ เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศ จำแนกตามคณะที่สังกัด สาขาวิชา และระดับปริญญา ศึกษาปัญหาในการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาศิลปะและการออกแบบมหาวิทยาลัยศิลปากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการประเมินวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างรายคู่ใช้ของวิธีการของเซฟเฟ่ และ Dunnett T3 ผลการวิจัย 1.ในการสารสนเทศ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาศิลปะและการออกแบบมหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วนใหญ่ค้นหาสารสนเทศผ่านทางเซิร์ซเอ็นจินด้วยโทรศัพท์มือถือ/สมาร์ทโฟน เดือนละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง และใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่ตีพิมพ์มาแล้วไม่เกิน 5 ปี ทรัพยากรที่นักศึกษาใช้ในระดับมาก 2.ผลการเปรียบเทียบสารสนเทศ พบว่า นักศึกษาที่ศึกษาในคณะต่างกันมีการใช้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในบางด้าน และ 3.ปัญหาในการใช้สารสนเทศพบว่านักศึกษามีปัญหาในการใช้สารสนเทศโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10863
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม33.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons