Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10875
Title: แนวทางการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
Other Titles: Extension guidelines of Khao Dawk Mali 105 rice seed production of rice collaborative farming farmers in Wapi Pathum District, Maha Sarakham Province
Authors: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวรีย์ เคนหงษ์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าว--เมล็ดพันธุ์--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--มหาสารคาม
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคม เศรษฐกิจและปัจจัยอื่น ๆ ของเกษตรกร 2) การผลิต การส่งเสริม และการสนับสนุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 3) ปัญหาการผลิต การส่งเสริม และการสนับสนุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ในพื้นที่อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ปี 2560 ถึง 2562 จำนวน 1,353 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.06 ได้ 231 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยวิธีจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 51.1 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.74 ปี มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 27.68 ปี ประสบการณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 11.30 ปี ร้อยละ 97.8 ทำนาเป็นอาชีพหลัก ร้อยละ 52.4 รับจ้างเป็นอาชีพรอง รายได้ในภาคการเกษตรของครัวเรือน เฉลี่ย 56.504.02 บาทต่อปี รายได้นอกภาคการเกษตรของครัวเรือน เฉลี่ย 42,4204.05 บาทต่อปี พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 16.54 ไร่ พื้นที่ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 7.62 ไร่ ร้อยละ 68.7 ใช้น้ำฝนในการทำนา และ 86.6 มีแหล่งน้ำไม่เพียงพอ 2) การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ร้อยละ 49.8 มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ได้รับการส่งเสริมแบบกลุ่ม และได้รับการสนับสนุนด้านการบริการอยู่ในระดับมาก 3) เกษตรกรมีปัญหาด้านการผลิตอยู่ในระดับมากใน 4 ด้านได้แก่ การปฏิบัติดูแลรักษาแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าว การเก็บเกี่ยว การเตรียมพื้นที่ และวิธีการปลูกข้าว และมีปัญหาด้านการส่งเสริมและด้านการสนับสนุนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 4) เกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านการสนับสนุนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10875
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.33 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons