กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10877
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตลำไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs for longan production adhering to good agricultural practices of farmer in Wang Chao District, Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
การันต์ กันใหม่, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ลำไย--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ลำพูน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้ในการผลิตลําไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 3) สภาพการผลิตลําไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของ เกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตลําไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร และ 5) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตลําไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกลําไยที่เข้าร่วมโครงการ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2561-2563 ในเขตพื้นที่อําเภอวังเจ้า จังหวัดตาก จํานวน 363 ราย กําหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโรยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ 191 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับสลากตามรายชื่อเกษตรกรตามสัดส่วนที่กําหนด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป ใช้สถิติ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ําสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 51.3 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.17 ปี ร้อยละ 75.4 จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา จํานวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.86 คน มีประสบการณ์การปลูกลําไยเฉลี่ย 13.32 ปี จํานวน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.47 คน พื้นที่ปลูกลําไยเฉลี่ย 9.64 ไร่ ปริมาณผลผลิตลําไยเฉลี่ย 1.36 ตัน/ไร่ ราคาผลผลิต ลําไยเฉลี่ย 23.00 บาท/กิโลกรัม ต้นทุนการผลิตลําไยเฉลี่ย 17,128.94 บาท/ไร่ รายได้จากผลผลิตลําไยเฉลี่ย 31,437.25 บาท/ไร่ และร้อยละ 80.6 ใช้แหล่งทุนตนเองและกู้ยืม 2) เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตลําไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมาก โดยมีความรู้น้อยที่สุด คือ สถานที่เก็บวัตถุอันตรายทางการเกษตร 3) เกษตรกรมีการผลิต ลําไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมาก โดยมีการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ การเก็บตัวอย่างน้ําเพื่อตรวจสอบคุณภาพ 4) เกษตรกรมีปัญหาในการส่งเสริมการผลิตลําไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับน้อย โดยมีปัญหามากที่สุด คือ ขาดความรู้ในการเก็บตัวอย่างน้ำ เกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตลําไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านการส่งเสริมและด้านวิธีการส่งเสริมในระดับมาก โดยข้อเสนอแนะที่เกษตรกรเห็นด้วยมากที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการผลิตลําไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ 5) เกษตรกรมีความต้องการความรู้ในการผลิตลําไยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับน้อย มีความต้องการวิธีการ ส่งเสริมในระดับมาก โดยเกษตรกรต้องการการส่งเสริมแบบกลุ่มบุคคลโดยการสาธิต.610 2 4 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10877
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons