Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10880
Title: การพัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาลกลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุทัยธานี
Other Titles: The development of a nursing document model for the Obstetrics and Gynecology Department at Uthai Thani Hospital
Authors: บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
พาณี วิรัชชกุล, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
บันทึกการพยาบาล
การพยาบาลสูติศาสตร์
การพยาบาลนรีเวชวิทยา
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการณ์บันทึกทางการพยาบาล กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุทัยธานี 2) สร้างรูปแบบบันทึกทางการพยาบาลกลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุทัยธานี และ 3) ประเมินผลการนำรูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลไปปฏิบัติจริงในหอผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลัก 10 คน พยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม 10 คน และแบบบันทึกทางการพยาบาลของผู้ป่วยที่พักรักษาในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลอุทัยธานี 40 แฟ้ม สำหรับก่อนและหลังทดลองจำนวนเท่า ๆ กัน เครื่องมือวิจัยพัฒนาโดยผู้วิจัยมี 6 ชุด ได้แก่ (1) แนวคำถามการสนทนากลุ่ม (2) แบบวิเคราะห์แบบฟอร์มบันทึกทางการพยาบาล (3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการบันทึกทางการพยาบาล (4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง รูปแบบบันทึกทางการพยาบาล และคู่มือการเขียนบันทึกทางการพยาบาลแบบโฟกัส (5) แบบประเมินคุณภาพบันทึกทางการพยาบาล และ (6) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบบันทึกทางการพยาบาล เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.98 และเครื่องมือชุดที่ 5) และ 6) มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 และ 0.89 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติวิลค็อกซัน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย แบบบันทึกและวิธีการบันทึกทางการพยาบาลแบบโฟกัส โดยปรับปรุงใหม่ จำนวน 6 แบบฟอร์ม โดยปรับลดลงเหลือ 5 แบบฟอร์ม ได้แก่ (1) แบบประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (2) แบบประเมินการให้นมแม่โดยวิธีแลซ (3) ตารางแสดงภาวะลิ้นติดและลักษณะของหัวนมแม่ (4) แบบบันทึกการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (5) แบบบันทึกติดตามผลการพยาบาล และ (6) ใบบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 2) คุณภาพบันทึกทางการพยาบาลของเวชระเบียนโดยรวมทุกด้านค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และ 3) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นใหม่ อยู่ในระดับมาก (M = 4.12, SD =.51).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10880
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons